HAPPY HOME ACADEMY

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

autism, epidemiology

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

“ออทิสติก” (Autism Spectrum Disorder) เป็นโรคที่รู้จักกันมาเกือบ 80 ปีแล้ว พบมากขึ้นในทุกประเทศทั่วโลกอย่างชัดเจน ถึงจะมีความชุกความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ และแต่ละการสำรวจค่อนข้างมาก แต่ก็พบว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันคือพบมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2542 Fombonne และคณะ สรุปทบทวนงานวิจัย 23 เรื่อง จาก 12 ประเทศ ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ในรอบ 33 ปี (พ.ศ. 2509 – 2541) นำมาคิดค่ามัธยฐาน (Median) พบความชุก 0.52 คน ในเด็ก 1,000 คน โดยมีความชุกเพิ่มขึ้นชัดเจนตามปีที่มีการสำรวจ ถ้าทบทวนเฉพาะงานวิจัย 11 เรื่อง ในรอบ 10 ปีหลัง พบความชุกเพิ่มขึ้นเป็น 0.72 คน ในเด็ก 1,000 คน และพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3.8 เท่า

ในปี พ.ศ. 2565 Zeiden และคณะ สรุปทบทวนงานวิจัย 71 เรื่อง จากหลายภูมิภาค รวม 34 ประเทศ ในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2555 – 2564) นำมาคิดค่ามัธยฐาน (Median) พบความชุก 10 คน ในเด็ก 1,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1 โดยมีความชุกเพิ่มขึ้นชัดเจนตามปีที่มีการสำรวจเช่นเดียวกัน พบสูงสุดที่ทวีปอเมริการและยุโรป พบว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย ร้อยละ 33 และพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 4.2 เท่า

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention) ทำการศึกษาระบาดวิทยาของออทิสติกอย่างต่อเนื่อง โดยทำการศึกษาเด็กอายุ 8 ปี ในพื้นที่เฝ้าระวัง 11 แห่ง จากปี พ.ศ. 2545 ถึงปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีความชุกเพิ่มขึ้นจาก 6.4 คน เป็น 23.0 คน ในเด็ก 1,000 คน ดังนี้

    ปี พ.ศ. 2545 พบความชุก 6.4 คน ในเด็ก 1,000 คน

    ปี พ.ศ. 2551 พบความชุก 11.3 คน ในเด็ก 1,000 คน

    ปี พ.ศ. 2555 พบความชุก 14.6 คน ในเด็ก 1,000 คน

    ปี พ.ศ. 2561 พบความชุก 23.0 คน ในเด็ก 1,000 คน

การสำรวจในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558 ในเด็กอายุ 1-4 ปี พบความชุกของออทิสติก 4.8 คน ในเด็ก 1,000 คน (รินสุข องอาจสกุลมั่น และคณะ, 2558)

ในการศึกษาด้านระบาดวิทยา ทำค่อนข้างยากเนื่องจาก เกณฑ์ในการวินิจฉัยออทิสติกมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เดิมเชื่อว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากเกณฑ์การวินิจฉัยที่กว้างขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น (case definition) และประชาชนทั่วไปมีความตระหนักในโรคออทิสติกและเข้าถึงบริการมากขึ้น (case recognition) แต่งานวิจัยระยะหลังซึ่งทำในในช่วงเวลาที่ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยเดียวกัน และติดตามในพื้นที่เดิม ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า มีอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นจริงและเพิ่มขึ้นมากด้วย

เดิมเชื่อว่าพบออทิสติกได้มากในกลุ่มคนที่มีสถานะทางสังคมสูง หรือมีฐานะดี แต่ในปัจจุบันพบว่ามีในทุกเศรษฐานะพอ ๆ กัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าเดิมกลุ่มคนที่มีเศรษฐานะดี จะเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ดีกว่า จึงทำให้พบได้มากกว่า (selection bias)

โดยภาพรวมยังพบว่ามีการวินิจฉัยโรคต่ำกว่าจำนวนที่คาดว่าจะมี ออทิสติกประมาณ 1 ใน 3 ถึงครึ่งหนึ่ง ได้รับการตรวจวินิจฉัยค่อนข้างช้า หลังอายุ 6 ปีไปแล้ว กลุ่มนี้จะมีอาการแสดงให้เห็นค่อนข้างน้อย มีเพียงส่วนน้อยที่ได้รับการวินิจฉัยก่อนอายุ 3 ปี

สำหรับในประเทศไทย ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พบว่า มีการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยออทิสติก ช่วงอายุ 2-5 ปี ร้อยละ 53 จากจำนวนผู้ป่วยออทิสติกที่คาดว่าจะมี

โดยสรุปพบว่า ออทิสติกพบได้มากขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอุบัติการณ์ที่มีเพิ่มขึ้นจริง ประชาชนมีความตระหนักในโรคออทิสติกมากขึ้น เข้าถึงบริการมากขึ้น และบริการที่รองรับมีความพร้อมมากขึ้น รวมถึงมีความสัมพันธ์กับเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). คู่มือการดูแล เด็กออทิสติก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

รินสุข องอาจสกุลมั่น, เสาวลักษณ์ หมื่นสุนทร และ ฉัตรมงคล ฉ่ำมาก. (2558). รายงานสรุปการสำรวจความชุกของกลุ่มอาการออทิซึมในเด็กอายุ 1-4 ปี ในประเทศไทย.

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ร้อยละของผู้ป่วยโรคออทิสติกเข้าถึงบริการ. จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc

American Psychiatric Association, Neurodevelopmental Disorders. In: American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders, 5th ed. (DSM-5). Washington DC: American Psychiatric Publishing; pp. 31-86.

Boland, R. & Verduin, M. L., eds. (2022). Neurodevelopmental disorders and other childhood disorders. In: Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry, 12th ed. (e-book). Wolters Kluwer; pp. 306-725.

Centers for Disease Control and Prevention, U.S. Department of Health and Human Services. (2021). Prevalence and characteristics of autism spectrum disorder among children aged 8 years - autism and developmental disabilities monitoring network, 11 sites, United States, 2018. MMWR Surveill Summ, 70(11): 1–20.

Fombonne, E. (1999). The epidemiology of autism: a review. Psychological Medicine, 29: 769-786.

Volkmar, F. R., Van Schalkwyk, G. I. & Van der Wyk, B. (2018). Autism Spectrum Disorder. In: Lewis’s child and adolescent psychiatry: a comprehensive textbook, 5th ed. Martin, A., Volkmar, F. R. & Bloch, M., eds. Philadelphia: Wolters Kluwer; pp. 1164-1195.

Zeidan, J., Fombonne, E., Scorah, J., Ibrahim, A., Durkin, M. S., Saxena, S., Yusuf, A., Shi, A. & Elsabbagh, M. (2022). Global prevalence of autism: A systematic review update. Autism Research, 15: 778–790.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ออทิสติก พบได้มากแค่ไหน. จาก https://www.happyhomeclinic.com/au02-autism-epidemiology.html

(บทความต้นฉบับ: ตุลาคม 2565)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder

ออทิสติก 10 คำถาม

แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ

การรักษาด้วยยา ในออทิสติก

การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก

แอสเพอร์เกอร์

เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม

อัจฉริยะกับออทิสติก

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ

 

อัจฉริยะกับออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
    · ออทิสติก 10 คำถาม
    · ออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม
    · ระดับความรุนแรงของออทิสติก
    · ระดับไอคิวของออทิสติก
    · ประเภทของออทิสติก
    · ออทิสติก พบได้มากแค่ไหน
    · ออทิสติก เกิดจากอะไร
    · ออทิสติก ป้องกันได้ไหม
    · ออทิสติก โตแล้วเป็นอย่างไร
    · เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
    · พฤติกรรมแปลกๆของเด็กออทิสติก
    · การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
    · เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
    · เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
    · พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
    · แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
    · ออทิสติก กับปัญหาการนอน
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
    · การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· อัจฉริยะกับออทิสติก
    · ซาวองต์ ซินโดรม
    · ออทิสติก ซาวองต์
    · ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
    · รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
    · แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
    · รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
    · การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
    · Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
    · Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
    · Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
    · Attorney Woo ทนายอัจฉริยะ ออทิสติก
    · อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
    · อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
    · อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
    · อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y