HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Autism Spectrum Disorder: Play Promation

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

สิ่งสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกได้เป็นอย่างดี คือ การส่งเสริมการเล่นให้เหมาะสมตามวัย ช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาการเล่นจากขั้นที่หยุดชะงักได้ พัฒนาการของการเล่นเริ่มจากการเล่นสัมผัสและเคลื่อนไหว (sensorimotor play) การเล่นจัดระบบ (organizing play) การเล่นจำลอง (functional play) จนถึงการเล่นสมมติ (pretend play)

เริ่มต้นด้วยการสร้างโอกาสในการเล่นที่หลากหลาย ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นของเล่นที่หลากหลาย หรือของเล่นเดิมในวิธีการเล่นที่แตกต่างจากเดิม โอกาสในการเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน และเพื่อนเล่นที่หลากหลาย

ในการเล่นกับเด็ก ต้องจำไว้เสมอว่า เรากำลังร่วมเล่นกับเขา เล่นไปด้วยกัน แนะนำได้ ทำเป็นตัวอย่างให้ดูได้ แต่ไม่ใช่เราไปสอนเขาเล่นอย่างที่เราต้องการเสมอไป ควรใช้การสัมผัสและน้ำเสียงที่นุ่มนวลร่วมด้วย เมื่อเด็กมีการเล่นที่พัฒนาขึ้น ควรให้คำชม หรือรางวัล เพื่อเป็นกำลังใจแก่เด็กที่จะพัฒนาการเล่นที่หลากหลายต่อไป เช่น ยิ้ม พยักหน้า โอบกอด ชมเชย ให้ขนม ฯลฯ

โดยให้เด็กเล่นสิ่งของที่เขากำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น เริ่มแนะนำวิธีการเล่นของเล่นชิ้นนั้นให้เด็กดู ถ้าเขาเล่นไม่เป็น ในระยะแรกอาจต้องช่วยโดยจับมือให้เด็กเล่นตามต้นแบบที่ทำให้ดู แล้วค่อย ๆ ลดการช่วยเหลือลงเป็นแค่แตะมือในบางครั้ง พูดบอกให้ทำตามคำสั่ง ใช้ภาษาท่าทางโดยไม่ใช้เสียง จนเด็กเล่นเป็นในที่สุด

ถ้าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมระหว่างการเล่น เช่น การทุบ ทำลาย ขว้างปาของเล่น ควรให้เด็กหยุดเล่นทันที แล้วนำเด็กมานั่งอยู่คนเดียวในมุมสงบ ประมาณ 2-3 นาที โดยไม่จำเป็นต้องดุว่า หรือตะโกนเสียงดังใส่เด็ก เมื่อสังเกตเห็นเด็กมีท่าทีสงบลง จึงค่อยให้เด็กเล่นใหม่ พร้อมทั้งเล่นให้ดูหรือเล่นด้วยกัน และบอกให้เด็กรับรู้ว่าควรทำอย่างไรในขณะที่เล่นของเล่นนั้น

ในขณะเดียวกันควรฝึกวินัยควบคู่กันไปด้วย ควรสอนให้เด็กเล่นของเล่นทีละชิ้นหรือทีละชุด เมื่อต้องการเปลี่ยนไปเล่นของเล่นชิ้นใหม่ ให้เอาของเล่นเดิมที่เล่นแล้ว ไปเก็บเสียก่อน

ความปลอดภัยในการเล่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นตามลำพังโดยไม่มีใครดูแล ควรเฝ้าดูในระยะห่างที่พอเหมาะ และควรเข้าไปเล่นด้วยเป็นระยะ

การส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก ควรมีการกำหนดเป้าหมายในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน และเมื่อผ่านขั้นหนึ่งแล้วก็ส่งเสริมพัฒนาต่อไปอีกขั้น จนเด็กสามารถเล่นสมมติเป็น ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการส่งเสริมการเล่น เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อไป ดังนี้

การเล่นของเล่นประเภทยานพาหนะ (vehicle play)

ของเล่นประเภทยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ กำหนดเป้าหมายเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 เด็กสามารถเข็นรถยนต์ รถไฟ และทำเสียงประกอบที่เหมาะสมได้ สอนให้เล่นโดยทำต้นแบบให้ดูก่อน (modeling) จากนั้นให้เด็กเล่นเลียนแบบ เช่น เข็นรถไฟแล้วส่งเสียงประกอบ “ปู๊นๆ กระฉึก กระฉัก” กระตุ้นให้เด็กทำตามแบบ
ขั้นที่ 2 เด็กสามารถจัดการกับสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นระหว่างเล่นได้ โดยให้นำของเล่นชิ้นอื่น เช่น สัตว์ หรือรถคันอื่น มากีดขวางทางเดินรถของเด็ก กระตุ้นให้เด็กขับชนแล้วทำเสียงประกอบ “ตู้ม” หรือกระตุ้นให้เด็กตะโกนบอก “หลบหน่อย” “หลีกทางด้วย”
ขั้นที่ 3 เด็กสามารถสื่อสารกับสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นระหว่างเล่นได้ โดยนำสัตว์มาพูดคุยกับเด็ก กระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบ เช่น เอาวัวมาเดินใกล้ ๆ ร้อง “มอมอ” แล้วถามว่า “เล่นด้วยได้ไหม” “ฉันกำลังหิว จะมาหาหญ้ากินแถวนี้”
ขั้นที่ 4 เด็กสามารถสมมติของเล่นของตนเอง กำลังคุยกับของเล่นอื่นได้ ให้เสียงรถร้อง บึ้น ๆ ในขณะที่กำลังคุยกับของเล่นชิ้นอื่น ทำท่าเคลื่อนไหวรถไปมาขณะที่พูดคุย หน้ารถของเด็กหันหน้าไปทางด้านหน้าของเล่นชิ้นอื่น บทสนทนาในการเล่น เช่น
  ผู้สอน “สวัสดีเจ้ารถน้อย”
  เด็ก “สวัสดีครับแม่วัว สบายดีไหม”
  ผู้สอน “สบายดี จะไปเที่ยวไหนหรือเจ้ารถน้อย”
  เด็ก “ผมจะไป......... ครับ”
  ผู้สอน “เที่ยวให้สนุกนะ”

การเล่นชุดทำครัว (kitchen)

ของเล่นชุดทำครัว เช่น กระทะ เตา หม้อ เขียง จาน ชาม ฯลฯ เป็นของเล่นที่เด็กส่วนใหญ่สนใจ และสนุกกับการรับประทานอาหารได้อีกหลังจากเล่นทำครัวเสร็จแล้ว กำหนดเป้าหมายเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 เด็กมีประสบการณ์ในการทำครัวของจริง โดยให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการทำครัวของจริงก่อน เช่น ปั้นแป้ง ใส่ส่วนผสม เครื่องปรุงต่าง ๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 เด็กเล่นชุดทำครัวของเล่นด้วยของใช้จริงบางอย่าง เช่น หม้อ จาน ชาม ช้อน หรืออาหารจริงบางอย่าง ร่วมกับการสมมติ โดยสมมติใส่อาหารปลอมลงในกระทะของเล่น เปิดเตาแล้วทำท่าผัดแบบสมมติ พอเสร็จแล้วเทใส่จานอาหารจริง ๆ ที่เด็กคุ้นเคยหรือใช้อยู่ประจำ แล้วสมมติการรับประทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อย
ขั้นที่ 3 เด็กเล่นสมมติทำครัวด้วยอาหารปลอม ๆ ตามจินตนาการได้ โดยกระตุ้นให้เด็กเปิดฝาหม้อ ใส่อาหารปลอม ๆ ลงไป แกล้งทำเป็นดม หรือชิมรสชาติอาหาร สมมติผ้าเช็ดหม้อให้สะอาด โดยทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก่อน แล้วให้เด็กทำตามบทที่บอกให้ทำ ช่วยกันทำ อย่าเผลอปล่อยให้เด็กมองดูอย่างเดียว
ขั้นที่ 4 เด็กเล่นบทบาทสมมติกับเพื่อน ในการทำครัวได้ โดยนำเด็กคนอื่นเข้ามาเล่นทำครัวด้วย กระตุ้นให้เด็กเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นกับกลุ่มแทนการเล่นกับผู้สอนโดยตรง

 

เอกสารอ้างอิง

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2561). คู่มือการดูแลเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

Beyer J & Gammeltoft L. (2003). Autism and play. London: Jessica Kingsley Publishers.

Healis autism centre. (2021). Can Children with Autism Pretend Play? (Online). Available URL: https://www.healisautism.com/post/can-children-autism-pretend-play

Holmes E, & Willoughby T. (2005). Play behaviour of children with autism spectrum disorders. Journal of Intellectual & Developmental Disability, 30(3): 156-64.

Jordan, R. (2003). Social play and autistic spectrum disorders: a perspective on theory, implications and educational approaches. Autism, 7(4): 347-60.

Rutherford MD, Young GS, Hepburn S & Rogers SJ. (2006). A longitudinal study of pretend play in autism. Journal of Autism and Developmental Disorders, 37(6), 1024-39.

Volkmar FR, Van Schalkwyk GI & Van der Wyk B. (2018). Autism Spectrum Disorder. In: Lewis’s child and adolescent psychiatry: a comprehensive textbook, 5th ed. Martin A, Volkmar FR and Bloch M, eds. Philadelphia: Wolters Kluwer, pp. 1164-95.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก. [Online]. Available URL: https://www.happyhomeclinic.com/au33-autistic-play-promotion.htm

(บทความต้นฉบับ: มีนาคม 2550)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Attention Deficit/ Hyperactivity Disorder

Specific Learning Disorder

Intellectual Disability

Child Development

Selective Mutism

Tourette's Disorder

Trichotillomania

ADHD-faq

alternative therapy

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
· ออทิสติก 10 คำถาม
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
· การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
· พฤติกรรมแปลกๆ ของเด็กออทิสติก
· การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
· เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
· เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
· พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· อัจฉริยะกับออทิสติก
· ซาวองต์ ซินโดรม
· ออทิสติก ซาวองต์
· ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
· รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
· แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
· รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
· การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
· Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
· Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
· Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
· อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
· อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
· อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
· อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y

 

 

ออทิสติก   ออทิสติก 10 คำถาม   แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ   การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก   การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก   การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก   การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก   กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก   แก้ไขการพูด ในออทิสติก   การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก   การรักษาด้วยยา ในออทิสติก   การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก   เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก   พฤติกรรมแปลกๆ ของเด็กออทิสติก   การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก   เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ

 

อัจฉริยะกับออทิสติก   ซาวองต์ ซินโดรม   ออทิสติก ซาวองต์   ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก   รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก   แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก   รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก   การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก   Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์   Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก   Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก   อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค   อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน   อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์   อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต   แอสเพอร์เกอร์   เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม   พีดีดี เอ็นโอเอส  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ