HAPPY HOME CLINIC

M   E   N   T   A   L         H   E   A   L   T   H         S   C   R   E   E   N   I   N   G

 

Mental health screening in health care system

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

การคัดกรองสุขภาพจิต โดยเฉพาะปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมในเด็ก รวมถึงปัญหาทางด้านจิตสังคมต่าง ๆ ที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ เมื่อผู้ป่วยเด็กมารับบริการที่โรงพยาบาล หรือหน่วยบริการสาธารณสุข จะช่วยให้เด็กได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมถึงการส่งต่อเพื่อวินิจฉัย การดูแลรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สามารถช่วยลดโอกาสที่เด็กจะมีปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวชที่รุนแรงและเรื้อรัง และลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

โดยทั่วไป ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูมักนำเด็กมาปรึกษาก็ต่อเมื่อเด็กมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมมากถึงระดับที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งเป็นกลุ่มที่รักษายากและไม่ค่อยได้ผลเต็มที่ เพราะมีอาการเรื้องรัง และสั่งสมปัญหามานาน ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูมักไม่รู้ว่าอาการเริ่มต้นที่เห็นนั้นคือปัญหาจึงไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ ในขณะที่ทีมงานด้านการแพทย์ก็ไม่มีเครื่องมือคัดกรองที่สะดวกและน่าเชื่อถือเพื่อดูแลเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้

พบว่ามีเด็กประมาณ 1 ใน 4 ที่มารับบริการด้านสาธารณสุข มีปัญหาทางด้านจิตสังคมที่ต้องให้ความสำคัญด้วย และในเด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะมีปัญหาทางด้านจิตสังคมเพิ่มขึ้น การคัดกรองสุขภาพจิตในผู้ป่วยเด็ก เป็นวิธีการที่สามารถช่วยให้กุมารแพทย์หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก สามารถคัดกรองเด็กที่มีปัญหาออกมาให้การดูแลเพิ่มเติมได้ และช่วยเสริมการดูแลด้านจิตสังคมเพื่อช่วยลดเวลาในการต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลให้สั้นลง

ระบบนี้ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่มีการศึกษาวิจัย และนำร่องระบบไปบ้างแล้ว ในกลุ่มแพทย์และนักวิชาการด้านการแพทย์ เป็นระบบที่ควรพัฒนาต่อและขยายผลให้ครอบคลุม เนื่องจากเป็นการบูรณาการการดูแลด้านจิตใจและสังคม เข้ากับบริการปกติที่เด็กมารับการรักษาโรคทางกาย เพื่อให้ครอบคลุมการดูแลทุกมิติของสุขภาพ

 

แนวทางการดำเนินงาน

เครื่องมือคัดกรองที่มีการนำมาใช้ได้อย่างมีสิทธิภาพ ควรเป็นแบบสอบถามอย่างสั้น และใช้ง่าย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรม PSC (Pediatric Symptom Checklist) ซึ่งมีคำถาม 35 ข้อ พบว่าสามารถค้นหาปัญหาทางพฤติกรรมได้มีประสิทธิภาพดี เมื่อเปรียบเทียบกับแบบทดสอบมาตรฐานในการสำรวจปัญหาพฤติกรรมเด็ก เช่น แบบสำรวจพฤติกรรมเด็ก CBCL (Child Behavior Check List) ซึ่งมีคำถาม 118 ข้อ และแบบสำรวจพฤติกรรมเด็ก TYC (Thai Youth Checklist) ซึ่งฉบับสำหรับผู้ปกครอง มีคำถาม 134 ข้อ ฉบับสำหรับครู มีคำถาม 133 ข้อ

 

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต, สถาบันราชานุกูล. (2551). คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรุงเทพมหานคร, สำนักการศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศก์. (2558). ประกอบกุล กล่อมอารมย์ (บรรณาธิการ). คู่มือแนวทาง การสร้างระบบดูแลสุขภาวะทางใจ ของนักเรียนและครู. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

รัตนาวดี ณ นคร. (2556). คุณประโยชน์และข้อพึงระวังของการคัดกรองทางสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 7(3): 325-330.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2557). การคัดกรองโรคระดับประชากร. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.hsri.or.th/researcher/classroom/detail/4813

สุจิตรา อู่รัตนมณี. (ม.ป.ป.). เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต. (เอกสาร ประกอบการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).

Centers for Disease Control and Prevention, U.S. Department of Health and Human Services. (2022). Mental health surveillance among children - United States, 2013-2019. MMWR, (Suppl). 71(2): 1-42.

Dowdy, E., Ritchey, K. & Kamphaus, R. W. (2010). School-based screening: a population-based approach to inform and monitor children’s mental health need. School Mental Health, 2: 166–176.

Hoff, N., Peterson, R. L., Strawhun, J. & Fluke, S. (2015). School-wide Behavior Screening, Topic Brief. Lincoln, NE: Student Engagement Project, University of Nebraska-Lincoln and the Nebraska, Department of Education. [Online]. Available URL: http://k12engagement.unl.edu/school-wide-behavior-screening

Maulik, P. K. & Darmstadt, G. L. (2007). Childhood disability in low- and middle-income countries: overview of screening, prevention, services, legislation, and epidemiology. J Pediatr, 120(Sup. 1): S1-55.

National Research Council and Institute of Medicine. (2009). Preventing mental, emotional, and behavioral disorders among young people: progress and possibilities. O’Connell, M. E., Boat, T. & Warner, K. E. (Eds). Washington, DC: The National Academies Press.

Wilson, J. M. G. & Jungner, G. (1968). Principles and practice of screening for disease. WHO Chronicle. Geneva: World Health Organization. 22(11): 473.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2568). ระบบการคัดกรองสุขภาพจิต ในผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการ. [Online]. จาก https://www.happyhomeclinic.com/screen10-healthcare.html

(บทความต้นฉบับ: การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน ปี 2560)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

HAPPY HOME ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

AUTISM ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ADHD ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ALTERNATIVE ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

การคัดกรองสุขภาพจิต

การคัดกรองสุขภาพจิต

Mental Health Screening

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

กลับศูนย์วิชาการ »