HAPPY HOME CLINIC

Special9

M   E   N   T   A   L         H   E   A   L   T   H         S   C   R   E   E   N   I   N   G

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

แบบคัดกรองบุคคลที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้คัดกรองเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้านต่าง ๆ

นำมาใช้ในกรณีที่นักเรียนยังไม่มีใบรับรองความพิการ/ สมุดประจำตัวคนพิการ/ ใบรับรองแพทย์ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา

 

ผู้พัฒนา

พัฒนาโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

 

ข้อบ่งชี้ในการใช้

ใช้คัดกรองเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้านต่าง ๆ รวม 9 ด้าน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552

 

คุณสมบัติ

ไม่มีข้อมูล

 

ข้อจำกัด

ไม่มีข้อมูล

 

วิธีการใช้

แบบคัดกรองนี้ นำมาใช้ในกรณีที่เด็กยังไม่มีใบรับรองความพิการ บัตรประจำตัวคนพิการ หรือใบรับรองแพทย์ ที่ระบุถึงความบกพร่องหรือความพิการ เป็นการคัดกรองเบื้องต้น

ประกอบด้วยแบบคัดกรอง จำนวน 8 ชุด สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องด้านต่าง ๆ 8 ด้าน (ไม่มีชุดสำหรับประเภทพิการซ้อน ซึ่งก็คือความบกพร่องมากกว่า 1 ด้าน) ดังนี้

1. ความบกพร่องทางการเห็น (จำนวน 10 ข้อ)
2. ความบกพร่องทางการได้ยิน (จำนวน 9 ข้อ)
3. ความบกพร่องทางสติปัญญา (จำนวน 20 ข้อ)
4. ความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ (จำนวน 11 ข้อ)
5. ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (มี 2 ฉบับ คือ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
แต่ละฉบับมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จำนวน 3 ข้อ ส่วนที่ 2 จำนวน 30 ข้อ)
6. ความบกพร่องทางการพูดและภาษา (จำนวน 10 ข้อ)
7. ความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ (จำนวน 18 ข้อ)
8. ออทิสติก (จำนวน 18 ข้อ)

ผู้ทำการคัดกรองต้องผ่านการอบรมวิธีการใช้และการประเมิน ตามแบบคัดกรองนี้ และควรมีอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เช่น ผู้ปกครองหรือครู เพื่อให้เกิดความชัดเจน ถูกต้อง

 

การให้คะแนน

การให้คะแนน ในแต่ละข้อจะมีคำตอบให้เลือก “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”

ถ้าตอบ
“ใช่” ให้ 1 คะแนน
“ไม่ใช่” ให้ 0 คะแนน

ให้คิดคะแนนรวมจากทุกข้อในแบบทดสอบชุดนั้น

 

การแปลผล

แบบคัดกรองฉบับนี้เป็นแบบคัดกรองเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น ไม่สามารถสรุปว่าเด็กเป็นอะไรจากการคัดกรองได้ ควรส่งผู้เชี่ยวชาญประเมินต่อไป

การแปลผล นับจากจำนวนข้อที่ตอบว่าใช่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาแต่ละชุด ดังนี้

ประเภทความบกพร่อง จำนวนข้อทั้งหมด เกณฑ์พิจารณา (ข้อ)
1. ความบกพร่องทางการเห็น 10 5
2. ความบกพร่องทางการได้ยิน 9 3
3. ความบกพร่องทางสติปัญญา 20 2 ทักษะ ๆ ละ 2 ข้อ
4. ความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ 11 1
5. ความบกพร่องทางการเรียนรู้
    ส่วนที่ 1 3 3
    ส่วนที่ 2 (1) ด้านการอ่าน 10 ประถม 7/ มัธยม 7
    ส่วนที่ 2 (2) ด้านการเขียน 10 ประถม 7/ มัธยม 7
    ส่วนที่ 2 (3) ด้านการคำนวณ 10 ประถม 6/ มัธยม 5
6. ความบกพร่องทางการพูดและภาษา 10 5
7. ความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 18 2 ข้อย่อยใน 1 หัวข้อ
8. ออทิสติก 18 3 ด้าน ๆ ละ 2 ข้อ

 

การให้คะแนนและแปลผลศึกษาได้เพิ่มเติมจากคู่มือการใช้แบบคัดกรอง

 

ตัวอย่าง

แบบคัดกรองบุคคลที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

 

แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
(เนื่องจากไม่มีใบรับรองความพิการ/สมุดประจำตัวคนพิการ/ใบรับรองแพทย์)

special9-ID
special9-ID

 

แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (ประถมศึกษา)
(เนื่องจากไม่มีใบรับรองความพิการ/สมุดประจำตัวคนพิการ/ใบรับรองแพทย์)

special9-LD
special9-LD
special9-LD

 

แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(เนื่องจากไม่มีใบรับรองความพิการ/สมุดประจำตัวคนพิการ/ใบรับรองแพทย์)

special9-speech
special9-speech

 

แบบคัดกรองบุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
(เนื่องจากไม่มีใบรับรองความพิการ/สมุดประจำตัวคนพิการ/ใบรับรองแพทย์)

special9-behavior
special9-behavior

 

แบบคัดกรองบุคคลออทิสติก
(เนื่องจากไม่มีใบรับรองความพิการ/สมุดประจำตัวคนพิการ/ใบรับรองแพทย์)

special9-ASD
special9-ASD

 

เอกสารอ้างอิง

กรุงเทพมหานคร, สำนักการศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศก์. (2558). ประกอบกุล กล่อมอารมย์ (บรรณาธิการ). คู่มือแนวทางการสร้างระบบดูแลสุขภาวะทางใจ ของนักเรียนและครู. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552. (2552). ใน: ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126(ตอนพิเศษ 80 ง): 45-47.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2568). แบบคัดกรองบุคคลที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา. [Online]. จาก https://www.happyhomeclinic.com/screen17-special9.html

(บทความต้นฉบับ: การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน ปี 2560)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

HAPPY HOME ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

AUTISM ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ADHD ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ALTERNATIVE ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

การคัดกรองสุขภาพจิต

การคัดกรองสุขภาพจิต

Mental Health Screening

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

กลับศูนย์วิชาการ »