HAPPY HOME CLINIC

SNAP-IV

M   E   N   T   A   L         H   E   A   L   T   H         S   C   R   E   E   N   I   N   G

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

แบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV (Swanson, Nolan and Pelham IV Questionnaire) Teacher and Parent Rating Scale นำมาใช้เพื่อประเมินและคัดกรองโรคสมาธิสั้นได้

 

ผู้พัฒนา

พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1992 โดย James M. Swanson มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ร่วมกับ Nolan และ Pelham ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ SNAP จากฉบับดั้งเดิมมี 90 ข้อ ได้มีการตัดทอนให้สั้นลงเหลือ 26 ข้อ เป็นฉบับย่อ (Short Form)

ฉบับภาษาไทย แปลและศึกษาคุณสมบัติของเครื่องมือโดย นายแพทย์ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ

 

ข้อบ่งชี้ในการใช้

1. ใช้คัดกรองโรคสมาธิสั้นในคลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
2. ใช้เพื่อประเมินอาการและความรุนแรงของโรคสมาธิสั้น
3. ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการรักษา โดยวัดความเปลี่ยนแปลงของอาการสมาธิสั้นด้วยการวัดซ้ำ

 

คุณสมบัติ

เครื่องมือชุดนี้มีความเที่ยงตรง เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้คัดกรองโรคสมาธิสั้นในคลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป

Adam และคณะ ศึกษาความเที่ยงตรงของแบบประเมิน SNAP ในปี ค.ศ.2004 พบว่ามีความไวและความจำเพาะมากกว่าร้อยละ 94 และมีค่าความสอดคล้องภายในชุดเดียวกันดีถึงดีเยี่ยม

ฉบับภาษาไทย แปลโดยมีการปรับแก้คำให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย มีค่าความเชื่อมั่น (internal consistency) เท่ากับ 0.927

สำหรับแบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV ซึ่งผู้ปกครองเป็นผู้ตอบ มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการคัดกรองโรคสมาธิสั้นได้ดี ในกรณีที่ต้องการให้มีค่าความไวเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 80 เพื่อให้สามารถคัดกรองโรคสมาธิสั้นได้มากขึ้น ก็สามารถทำได้โดยปรับจุดตัดให้ต่ำลงเป็น ไม่มีสมาธิ 14, ซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น 12 และดื้อ ต่อต้าน 11 แต่จะทำให้มีผลบวกเทียม (false positives) เพิ่มมากขึ้น

 

ข้อจำกัด

ให้พึงระมัดระวัง การแปลผลแบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV ฉบับที่ครูเป็นผู้ตอบ เนื่องจากมีค่าความไวและความจำเพาะน้อย เพียงร้อยละ 50-60 ซึ่งถือว่ายังไม่ดีพอสำหรับการนำมาใช้คัดกรองสมาธิสั้น

ส่วนแบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV ฉบับที่ผู้ปกครองเป็นผู้ตอบ นำมาใช้คัดกรองและประเมินความรุนแรงของโรคสมาธิสั้นได้

 

วิธีการใช้

แบบประเมินประกอบด้วยข้อคำถามรวมทั้งหมด 26 ข้อ ประเมินโดยผู้ปกครองหรือครู โดยแยกเป็นองค์ประกอบ 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย
• อาการไม่มีสมาธิ (inattention) ข้อ 1-9
• อาการซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น (hyperactivity/ impulsivity) ข้อ 10-18
• อาการดื้อ ต่อต้าน (oppositional defiant) ข้อ 19-26

แต่ละมีข้อ 4 ตัวเลือก คือ “ไม่เลย” “เล็กน้อย” “ค่อนข้างมาก” และ “มาก” ให้เลือกตอบเพียงตัวเลือกเดียว ในแต่ละข้อคำถาม โดยตอบให้ครบทุกข้อ ให้ตรงกับลักษณะของเด็กที่ประเมิน

 

การให้คะแนน

การให้คะแนนแต่ละข้อ คิดคะแนนเป็น 4 ระดับ ดังนี้
• ไม่เลย = 0 คะแนน
• เล็กน้อย = 1 คะแนน
• ค่อนข้างมาก = 2 คะแนน
• มาก = 3 คะแนน

ให้รวมคะแนนในแต่ละด้านแยกกัน

 

การแปลผล

รวมคะแนนของแต่ละด้านเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานของครู หรือผู้ปกครอง หากคะแนนเฉลี่ยที่ได้สูงกว่าคะแนนมาตรฐาน ให้สงสัยว่าเด็กมีปัญหาในด้านนั้น ๆ

องค์ประกอบ คะแนนมาตรฐานครู คะแนนมาตรฐานผู้ปกครอง
ไม่มีสมาธิ 23 16
ซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น 16 13
ดื้อ ต่อต้าน 11 15

 

ตัวอย่าง

แบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV (Short Form)

snap-iv

 

เอกสารอ้างอิง

ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, ธันวรุจน์ บูรณะสุขสกุล, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ และ ทรงภูมิ เบญญากร. (2557). คุณสมบัติของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นชื่อ Swanson, Nolan, and Pelham IV Scale (SNAP-IV) และ Strengths and Difficulties Questionnaire ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น (SDQ-ADHD) ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(2): 97-110.

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ และ สุวรรณี เรืองเดช. (2552). ความตรงของแบบสอบถาม SNAP-IV ฉบับภาษาไทย ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นและโรคดื้อต่อต้าน สำหรับผู้ป่วยเด็กในเขตสาธารณสุขที่ 14. วารสารโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์, 9(2): 12-20.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2568). แบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV. [Online]. จาก https://www.happyhomeclinic.com/screen12-snap4.html

(บทความต้นฉบับ: การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน ปี 2560)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

HAPPY HOME ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

AUTISM ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ADHD ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ALTERNATIVE ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

การคัดกรองสุขภาพจิต

การคัดกรองสุขภาพจิต

Mental Health Screening

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

กลับศูนย์วิชาการ »