
แบบสอบถามผลกระทบ
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติสำหรับเด็ก CRIES-13
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติสำหรับเด็ก CRIES-13
The Children’s Revised Impact of Event Scale
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
แบบสอบถามผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสำหรับเด็ก CRIES-13 (The Children’s Revised Impact of Event Scale) นำมาใช้สำหรับผู้ประสบเหตุการณ์ภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หรือภัยจากน้ำมือมนุษย์ เหมาะที่จะนำมาใช้คัดกรองในเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีจำนวนมาก
ผู้พัฒนา
สร้างและพัฒนาโดย Children and War Foundation ประเทศนอร์เวย์ โดยมีการพัฒนาแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด
แบบสอบถาม ชุด 8 ข้อ (CRIES-8) เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือคัดกรอง ประกอบด้วยอาการหลัก 2 กลุ่มอาการ คือ มีความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจนี้อยู่ตลอด (intrusion) จำนวน 4 ข้อ และมีการหลีกเลี่ยงอยู่ตลอดต่อสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ (avoidance) จำนวน 4 ข้อ
แบบสอบถาม ชุด 13 ข้อ (CRIES-13) เพิ่มข้อเพื่อใช้ประเมินสิ่งเร้า (arousal) จำนวน 5 ข้อ
แปลเป็นฉบับภาษาไทย ชุด 13 ข้อ (CRIES-13) โดย นายแพทย์ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำมาใช้ในเด็กที่ประสบภัยสึนามิ ภาคใต้ของประเทศไทย เป็นครั้งแรก (CRIES-13, Tsunami version)
ข้อบ่งชี้ในการใช้
ใช้คัดกรองภาวะเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD) สำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่ 8 ถึง 18 ปี ที่ประสบกับเหตุการณ์
คุณสมบัติ
ค่าคะแนนที่จุดตัด 25 คะแนน มีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับ 0.65 ค่าความจำเพาะ (specificity) เท่ากับ 0.6 และค่าการทำนายเมื่อได้ผลเป็นลบ (negative predictive value) เท่ากับ 0.897
ข้อจำกัด
เป็นแบบประเมินตนเอง เด็กต้องสามารถอ่านหนังสือได้เอง
วิธีการใช้
เป็นแบบประเมินตนเอง โดยให้เด็กอ่านและตอบคำถามเอง มีจำนวน 13 ข้อ แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก คือ “ไม่เลย” “นาน ๆ ครั้ง” “บางครั้ง” และ “บ่อย ๆ”
การให้คะแนน
การให้คะแนนแบบสอบถาม CRIES-13 เป็นดังนี้
• ไม่เลย = 0 คะแนน
• นาน ๆ ครั้ง = 1 คะแนน
• บางครั้ง = 3 คะแนน
• บ่อย ๆ = 5 คะแนน
คะแนนสูงสุด เท่ากับ 65 คะแนน คะแนนต่ำสุด เท่ากับ 0 คะแนน
การแปลผล
ใช้เกณฑ์ค่าคะแนนจุดตัด ตั้งแต่ 25 คะแนน ขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยงต่อ ภาวะเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD) ในเด็ก
ตัวอย่าง
แบบสอบถามผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสำหรับเด็ก CRIES-13 (The Children’s Revised Impact of Event Scale)

เอกสารอ้างอิง
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์, วัลลี ธรรมโกสิทธิ์ และ ราณี ฉายินทุ (บรรณาธิการ). (2555). คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง.
Children and War Foundation. (2022). CRIES-13. [Online]. from https://www.childrenandwar.org/wp-content/uploads/2019/06/cries_13_UK.pdf
Perrin, S., Meiser-Stedman, R. & Smith, P. (2005). The Children’s Revised Impact of Event Scale (CRIES): Validity as a screening instrument for PTSD. Behavioural and Cognitive Psychotherapy, 33(4): 487-98.
บทความทั้งหมดยินดีให้นำไป เผยแพร่เพื่อความรู้ได้ โดยกรุณาอ้างอิงแหล่งที่มา
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2568). แบบสอบถามผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสำหรับเด็ก CRIES-13. [Online]. จาก https://www.happyhomeclinic.com/screen15-cries13.html
(บทความต้นฉบับ: การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน ปี 2560)

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา
· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)





กลับศูนย์วิชาการ »