HAPPY HOME CLINIC

Behavior

M   E   N   T   A   L         H   E   A   L   T   H         S   C   R   E   E   N   I   N   G

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

แบบสังเกตพฤติกรรม (สำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ ภาวะบกพร่องของทักษะการเรียน โรคสมาธิสั้น และกลุ่มอาการออทิซึม) นำมาใช้คัดกรองปัญหาการเรียน 4 กลุ่มหลัก ที่พบได้บ่อยในโรงเรียน สามารถนำไปใช้เป็นแบบคัดกรองเบื้องต้นอย่างง่ายได้

 

ผู้พัฒนา

สร้างและพัฒนาโดย แพทย์หญิงชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์ และคณะ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 

ข้อบ่งชี้ในการใช้

ใช้คัดกรองกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาการเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักที่พบได้บ่อยในโรงเรียน คือ

1. เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ (Subnormal Intelligence) ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเรียนรู้ช้า และกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาด้วย (Slow Learner and Intellectual Disability)

2. ภาวะบกพร่องของทักษะการเรียน หรือแอลดี (Specific Learning Disorder)

3. โรคสมาธิสั้น (Attention-Deficit/ Hyperactivity Disorder)

4. กลุ่มอาการออทิซึม หรือออทิสติก (Autism Spectrum Disorder)

 

คุณสมบัติ

แบบสังเกตพฤติกรรมฯ สำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ทั้งฉบับมีค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.85

ส่วนที่ 1 ภาวะระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ (เรียนรู้ช้า) มีค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.84 ค่า Inter-rater reliability 0.80 ที่จุดตัด 6 คะแนน มีค่าความไว 0.85 ค่าความจำเพาะ 0.76

ส่วนที่ 2 ภาวะแอลดี มีค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.82 ค่า Inter-rater reliability 0.87 ที่จุดตัด 6 คะแนน ค่าความไว 0.84 ค่าความจำเพาะ 0.88

ส่วนที่ 3 ภาวะสมาธิสั้น มีค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.82 ค่า Inter-rater reliability 0.74 ที่จุดตัด 6 คะแนน มีค่าความไว 0.96 ค่าความจำเพาะ 0.71

ส่วนที่ 4 ภาวะออทิสติก มีค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.94 ค่า Inter-rater reliability 0.71 ที่จุดตัด 5 คะแนน มีค่าความไว 0.85 ค่าความจำเพาะ 0.70 แต่เพื่อให้จดจำได้ง่าย คณะผู้วิจัยจึงปรับจุดตัดเป็น 6 คะแนน ซึ่งมีค่าความไว 0.82 ค่าความจำเพาะ 0.70

 

ข้อจำกัด

ข้อจำกัดของแบบสังเกตพฤติกรรม คือ ผ่านการทดสอบภาษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร และกลุ่มตัวอย่างในการหาค่าความไว และความจำเพาะ มาจากโรงเรียนที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ ไม่ใช่การสุ่มเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรทั้งประเทศ

 

วิธีการใช้

แบบสังเกตพฤติกรรมประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ตอน ๆ ละ 10 ข้อ รวมทั้งหมด 40 ข้อ นำมาใช้คัดกรองเด็ก ช่วงอายุ 6-12 ปี แต่ละข้อมี 2 ตัวเลือก คือ “ใช่” และ “ไม่ใช่”

ผู้ตอบแบบสังเกตพฤติกรรม คือ ครูประจำชั้นที่รู้จักเด็กมากกว่า 3 เดือน โดยเด็ก 1 คน ต้องประเมินให้ครบทั้ง 40 ข้อ

 

การให้คะแนน

แต่ละข้อ คิดคะแนน ดังนี้
• ตอบ “ใช่” ให้ 1 คะแนน
• ตอบ “ไม่ใช่” ให้ 0 คะแนน

คะแนนที่ได้คำนวณจากการรวมคะแนนของคำตอบทั้งหมดในแบบสังเกตพฤติกรรมแต่ละชุด

 

การแปลผล

การแปรผล ตัดเกณฑ์ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ในแต่ละกลุ่มปัญหา ถือว่ามีความเสี่ยงต่อปัญหานั้น ควรมีการคัดกรองเฉพาะสำหรับปัญหานั้นเพิ่มเติมต่อไป

ถ้าตอบว่าใช่ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป หรือได้คะแนนตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป ในข้อที่ 1-10 แสดงถึง แนวโน้มการมีปัญหาการเรียนจากปัญหาระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ ให้คัดกรองด้วยแบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ของ สพฐ. ต่อไป

ถ้าตอบว่าใช่ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป หรือได้คะแนนตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป ในข้อที่ 11-20 แสดงถึง แนวโน้มการมีภาวะแอลดี ให้คัดกรองด้วยแบบคัดกรอง KUS-SI Rating Scales (เฉพาะส่วนของ LD) หรือแบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ของ สพฐ. ต่อไป

ถ้าตอบว่าใช่ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป หรือได้คะแนนตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป ในข้อที่ 21-30 แสดงถึง แนวโน้มการมีภาวะสมาธิสั้น ให้คัดกรองด้วยแบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV หรือแบบคัดกรอง KUS-SI Rating Scales (เฉพาะส่วนของ ADHD) ต่อไป

ถ้าตอบว่าใช่ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป หรือได้คะแนนตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป ในข้อที่ 31-40 แสดงถึง แนวโน้มการมีภาวะออทิสติก ให้คัดกรองด้วยแบบสำรวจพัฒนาการเด็ก PDDSQ หรือแบบคัดกรอง KUS-SI Rating Scales (เฉพาะส่วนของ Autism) ต่อไป

 

ตัวอย่าง

แบบสังเกตพฤติกรรม
(สำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ ภาวะบกพร่องของทักษะการเรียน โรคสมาธิสั้น และกลุ่มอาการออทิซึม)

 

behavior
behavior

 

เอกสารอ้างอิง

ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์, วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, ปราณี ต๊ะวิโล และ ยุวนา ไขว้พันธ์. (2558). แบบสังเกตพฤติกรรม (สำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ ภาวะบกพร่องของทักษะการเรียน โรคสมาธิสั้น และกลุ่มอาการออทิซึม). วารสารราชานุกูล. 30 (2): 1-11.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2568). แบบสังเกตพฤติกรรม (สำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ ภาวะบกพร่องของทักษะการเรียน โรคสมาธิสั้น และกลุ่มอาการออทิซึม). [Online]. จาก https://www.happyhomeclinic.com/screen18-behavior.html

(บทความต้นฉบับ: การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน ปี 2560)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

HAPPY HOME ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

AUTISM ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ADHD ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ALTERNATIVE ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

การคัดกรองสุขภาพจิต

การคัดกรองสุขภาพจิต

Mental Health Screening

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

กลับศูนย์วิชาการ »