HAPPY HOME CLINIC

PSC

M   E   N   T   A   L         H   E   A   L   T   H         S   C   R   E   E   N   I   N   G

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC (Pediatric Symptom Checklist) นำมาใช้คัดกรองปัญหาทางด้านจิตสังคมในเด็ก เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะเป็นโรคทางจิตเวชที่รุนแรงและเรื้อรัง และลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

 

ผู้พัฒนา

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC (Pediatric Symptom Checklist) ฉบับดั้งเดิม เป็นฉบับสำหรับผู้ปกครองรายงาน (parent-completed version) เท่านั้น มีจำนวน 35 ข้อ สร้างและพัฒนาโดย M.S. Jellinek และ J.M. Murphy โรงพยาบาลแมซซาชูเสท สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1988 โดยพัฒนามาจาก Washington Symptom Checklist เริ่มนำมาใช้โดยกุมารแพทย์ และทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคัดกรองปัญหาทางจิตสังคม ในเด็กที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์

ปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ และมีการพัฒนาหลายรูปแบบ ได้แก่ ฉบับประเมินตนเอง (Y-PSC) โดยเด็กอายุตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไป, ฉบับย่อ จำนวน 17 ข้อ (PSC-17) และฉบับประเมินตนเอง ฉบับย่อ จำนวน 17 ข้อ (Y-PSC-17) รวมถึงมีการแปลเป็นภาษาไทยเพื่อนำใช้ในการประเมินปัญหาทางจิตสังคมในเด็ก

 

ข้อบ่งชี้ในการใช้

คัดกรองปัญหาทางด้านจิตสังคม (psychosocial problem) ในเด็ก อายุ 4-16 ปี ซึ่งประกอบด้วยปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม และความสัมพันธ์กับผู้อื่น

 

คุณสมบัติ

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC มีประสิทธิภาพในการคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ค่าคะแนนจุดตัดที่เหมาะสม

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC ฉบับผู้ปกครอง (P-PSC) จุดตัดที่เหมาะสม คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 20 คะแนน สามารถคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมได้โดยมีพื้นที่ใต้ ROC curve เท่ากับ 0.895 มีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 58.76 ค่าความจำเพาะ (specificity) เท่ากับร้อยละ 93.65 ค่าการทำนายเมื่อได้ผลเป็นบวก (positive predictive value) เท่ากับร้อยละ 93.44 และค่าการทำนายเมื่อได้ผลเป็นลบ (negative predictive value) เท่ากับร้อยละ 59.59

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC ฉบับประเมินตนเอง (Y-PSC) จุดตัดที่เหมาะสม คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 16 คะแนน มีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 83.51 ค่าความจำเพาะ (specificity) เท่ากับร้อยละ 79 ค่าการทำนายเมื่อได้ผลเป็นบวก (positive predictive value) เท่ากับร้อยละ 86.17 และค่าการทำนายเมื่อได้ผลเป็นลบ (negative predictive value) เท่ากับร้อยละ 75.76

 

ข้อจำกัด

ผู้ปกครองที่มีสัมพันธภาพกับลูกไม่ดีนัก อาจไม่รับทราบถึงปัญหาพฤติกรรมของลูกได้ทั้งหมด จึงรายงานสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

 

วิธีการใช้

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC ฉบับผู้ปกครอง (P-PSC) มีข้อคำถามทั้งหมด 35 ข้อ แต่ละข้อมี 3 ตัวเลือกให้ตอบ คือ “ไม่เป็น” “เป็นบางครั้ง” และ “เป็นบ่อย ๆ” (สำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี ไม่ต้องทำข้อ 5, 6, 17 และ 18)

 

การให้คะแนน

การให้คะแนน เป็นดังนี้
• ไม่เป็น = 0 คะแนน
• เป็นบางครั้ง = 1 คะแนน
• เป็นบ่อย ๆ = 2 คะแนน

ให้รวมคะแนนจากข้อคำถามทั้งหมด 35 ข้อ (สำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี ให้รวมคะแนนจากข้อคำถามทั้งหมด 31 ข้อ)

 

การแปลผล

การคิดคะแนนในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จนถึง 16 ปี ได้คะแนนเกิน 20 คะแนน ให้ส่งประเมินเพิ่มเติม (สำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี คะแนนเกิน 24 คะแนน ให้ส่งประเมินเพิ่มเติม)

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC ฉบับประเมินตนเอง (Y-PSC) ใช้ในเด็กโตอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป จนถึง 16 ปี มีข้อคำถามทั้งหมด 35 ข้อ เช่นเดียวกัน ได้คะแนนเกิน 16 คะแนน ให้ส่งประเมินเพิ่มเติม

 

ตัวอย่าง

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC (Pediatric Symptom Checklist)

 

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC ฉบับผู้ปกครอง
(Pediatric Symptom Checklist – Parent-completed version)

PSC
PSC

 

แบบสอบถามพฤติกรรม PSC ฉบับประเมินตนเอง
(Pediatric Symptom Checklist – Youth self-report)

PSC
PSC

 

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา อำลอย. (2550). การเปรียบเทียบแบบสอบถามคัดกรองพฤติกรรมอย่างสั้นกับแบบสอบถามพฤติกรรมมาตรฐานของเด็กไทย. (วิทยานิพนธ์เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ของแพทยสภา). สถาบันผู้ฝึกอบรม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข.

ดลจรัส ทิพย์มโนสิงห์ และ รัตโนทัย พลับรู้การ. (2555). การศึกษาปัญหาทางพฤติกรรมเด็กวัยเรียน อายุ 10–12 ปี โดยใช้แบบคัดกรองสอบถามพฤติกรรมจากตัวเด็กในโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง. กุมารเวชสาร, 19(1): 13-22.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Jellinek, M., Evans, N. & Knight, R. B. (1979). Use of a behavior checklist on a pediatric inpatient unit. J Pediatr, 94(1): 156–8.

Jellinek, M. S., Murphy, J. M., Robinson, J., et al. (1988). Pediatric Symptom Checklist: Screening school-age children for psychosocial dysfunction. J Pediatr, 112(2): 201–9.

Massachusetts General Hospital. (2022). Pediatric Symptom Checklist. [Online]. from https://www.massgeneral.org/psychiatry/treatments-and-services/pediatric-symptom-checklist

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2568). แบบสอบถามพฤติกรรม PSC. [Online]. จาก https://www.happyhomeclinic.com/screen22-psc.html

(บทความต้นฉบับ: การคัดกรองสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน ปี 2560)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

HAPPY HOME ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

AUTISM ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ศูนย์วิชาการ สมาธิสั้น

ADHD ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ศูนย์วิชาการ การบำบัดทางเลือก

ALTERNATIVE ACADEMY

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

การคัดกรองสุขภาพจิต

การคัดกรองสุขภาพจิต

Mental Health Screening

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

กลับศูนย์วิชาการ »