HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

ดนตรีบำบัดรูปแบบเฉพาะ

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ดนตรีบำบัดมีการแตกแขนงวิธีการที่หลากหลาย และจัดเป็นโปรแกรมที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น วิธีการต่างๆ ทางดนตรีบำบัดในรูปแบบเฉพาะที่มีการนำมาใช้ ได้แก่

Tomatis method หรือ Audio-Psycho-Phonology (APP) ของ Dr. Alfred Tomatis นายแพทย์ชาวฝรั่งเศษ ผู้บุกเบิกเรื่องการบำบัดด้วยเสียง (sound therapy) พัฒนาวิธีทดสอบการได้ยิน ประดิษฐ์หูอิเลคโทรนิกส์ ซึ่งสามารถปรับความถี่ของเสียงได้ และเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่อง Mozart effect ด้วย

Mozart effect คือการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎีที่ว่า ดนตรีคลาสสิกสามารถเพิ่มความสามารถของสมองมากกว่าดนตรีชนิดอื่นๆ ผลพบว่าการฟังดนตรีคลาสสิกช่วยเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ได้ ซึ่งพบในดนตรีบรรเลง sonata for two pianos in D major (K.448) และ piano concerto No. 23 ( K.488) ของ Mozart คีตกวีชาวออสเตรีย และพบว่าดนตรีบรรเลง acroyali/ standing in motion ของ Yanni นักดนตรีชาวกรีก ก็มีผลเช่นเดียวกัน

การบำบัดทางเลือก

รูป Mozart

การบำบัดทางเลือก

รูป piano concerto

Patricia Joudry นักเขียนชาวแคนาดา ผู้ริเริ่มการบำบัดด้วยเสียงความถี่สูง บันทึกดนตรีที่รวบรวมจากประสบการณ์ที่พบเห็นมาทั่วโลกลงในเทปคาสเซ็ต เพื่อช่วยลดภาวะซึมเศร้า อาการอ่อนล้า และนอนไม่หลับ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยเพียงพอที่สนับสนุนผลของวิธีการนี้

Samonas Sound Therapy (Spectrally Activated Music of Optimal NAtural Structure) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Klangstudio Lambdoma ชาวเยอรมัน เป็นโปรแกรมฝึกระบบการได้ยิน ให้สามารถตอบสนองต่อเสียงได้เต็มที่ โดยไม่มีการบิดเบือน ไวเกินหรือสูญหายในบางความถี่ โดยใช้เสียงจากธรรมชาติ ดนตรีคลาสสิก หรือเสียงสังเคราะห์ ที่เลือกสรร เรียบเรียง และบันทึกด้วยวิธีพิเศษบนแผ่นซีดี สามารถนำมาใช้ในเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กสมาธิสั้น และเด็กที่มีความบกพร่องในการใช้ภาษาและการสื่อสาร แต่ยังไม่มีงานวิจัยเพียงพอที่สนับสนุนผลของวิธีการนี้เช่นกัน

Auditory Integration Training (AIT) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Dr. Guy B?rard ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ชาวฝรั่งเศษ นำมาช่วยลดการตอบสนองที่ไวเกินปกติ (hypersensitivity) ในเด็กออทิสติก โดยให้ฟังดนตรีที่มีการปรับกรองความถี่ที่เด็กมีความไวเกินออก ครั้งละครึ่งชั่วโมง ประมาณ 20 ครั้ง ยังไม่มีงานวิจัยเพียงพอที่สนับสนุนผลของวิธีการนี้ ส่วนใหญ่พบว่ากลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม

Rhythmic Acoustic Stimulation (RAS) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Michael Thaut เป็นคลื่นเสียงความถี่ 6-9 เฮิร์ซ นำมาใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพของระบบประสาท (neuro-rehabilitation) ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และสมองเสื่อม เป็นวิธีการที่มีงานวิจัยสนับสนุนพอสมควร แต่ก็ยังมีผลวิจัยที่ขัดแย้งกันอยู่

โดยสรุปแล้ว วิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ในปัจจุบันไม่ได้รับการยอมรับหรือนำมาใช้ในทางการแพทย์ เนื่องจาก งานวิจัยไม่สนับสนุนให้เห็นผลของวิธีการเหล่านี้อย่างเพียงพอ

 

เอกสารอ้างอิง

_______. (2005). “โมสาร์ทเอฟเฟกต์” เสียงที่กระตุ้นการทำงานของสมองคุณ. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ (30 พฤศจิกายน 2548). [Online]. Available URL: http://www.thaiday.com

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2550.

_______. (2006). Medical music therapy. [Online]. Available URL: http://home.att.net/~preludetherapy/medicine.html

_______. (2006). What is music therapy? [Online]. Available URL: http://home.att.net/~preludetherapy/musictx.html

_______. (2006). What is Samonas auditory intervention? [Online]. Available URL: http://www.samonas.com/info/f_info.htm

Gillberg C, Johanason M, Sreffenburg S, Ranson BJ , Berlin O. (1997). Auditory integration training in children with autism. Autism, 1: 97-100

Ness K. (2006). Samonas sound therapy. [Online]. Available URL: http://www.icando.org/article-sst.html

Sinha Y, Silove N, Wheeler D, Williams K. (1999). Auditory integration training and other sound therapies for autism spectrum disorders. Cochrane Database Syst Rev, 1

The national autistic society. (2006). Auditory integration training (AIT). [Online]. Available URL: http://www.nas.org.uk/nas/jsp/polopoly.jsp?d= 1389 &a= 3233.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2564). ดนตรีบำบัดรูปแบบเฉพาะ. [Online]. Available URL: https://happyhomeclinic.com/alt07-soundtherapy.htm

 

บทความแก้ไขล่าสุด : มิถุนายน 2564
บทความต้นฉบับ : หนังสือ “การบำบัดทางเลือกในเด็กพิเศษ”
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

 

ดาวน์โหลดบทความ »

 

บทความเพิ่มเติมเรื่องดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัด

 

ดนตรีบำบัด พัฒนาชีวิต

 

ดนตรีบำบัดในเด็กพิเศษ

 

ดนตรีบำบัดรูปแบบเฉพาะ

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

alternative therapy

art therapy

music therapy

acupuncture

HEG: hemoencephalography

TMS: Transcranial Magnetic Stimulation

HBOT: Hyperbaric Oxygen Therapy

robot therapy

animal therapy

ข้อมูลเพิ่มเติม »