ประวัติและผลงาน
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
APEC Digital Hub for Mental Health 2019:
Next Steps Round Table Conference.
Next Steps Round Table Conference.
@ Republic of Singapore
การประชุม APEC digital hub for mental health
ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
วันที่ 26-28 มิถุนายน 2562
วัตถุประสงค์
(1) สรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ภายใต้ roadmap ปี ค.ศ. 2020
(2) ติดตามการดำเนินงานโครงการนำร่องด้านสุขภาพจิต
(3) พิจารณาแหล่งทุนจากความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
(4) เตรียมเสนอแผนงานหลังปี ค.ศ. 2020
สาระสำคัญ
มีการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการนำร่องของประเทศสมาชิก APEC digital hub for mental health และสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ภายใต้ roadmap ปี ค.ศ. 2020 เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดลำดับความสนใจใน 7 กลุ่มหลักที่เป็นจุดเน้น ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร เพื่อเสนอแผนงานหลังปี ค.ศ. 2020 รวมถึงแลกเปลี่ยนในเรื่องการระดมทุนจากความร่วมมือภาครัฐและเอกชน (public-private partnerships)
การดำเนินงาน APEC digital hub for Mental Health ในช่วงที่ผ่านมา เน้นการดำเนินงานโครงการนำร่องใน 7 กลุ่มหลักที่เป็นจุดเน้น ได้แก่
1) การจัดเก็บและจัดทำมาตรฐานด้านข้อมูล (Data Collection and Standardization)
2) ชุมชนและเยาวชนในกลุ่มที่มีความเปราะบาง (Vulnerable Communities and Children)
3) การเยียวยาจากภัยพิบัติและเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ (Disaster Resilience and Trauma)
4) การบูรณาการการดูแลระดับปฐมภูมิกับชุมชน (Integration with Primary Care and Community Settings)
5) นโยบายและการสร้างความตระหนักสาธารณะ (Advocacy and Public Awareness)
6) สุขภาวะในที่ทำงาน (Workplace Wellness and Resilience)
7) สุขภาพจิตที่ดีในชนเผ่าพื้นเมือง (Mental Wellness of Indigenous Communities)
แต่ละประเทศสมาชิกได้จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มที่เป็นเน้น ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกัน ตามบริบทของแต่ละประเทศ และมีข้อเสนอให้พิจารณาธีม ประกอบด้วยในลักษณะภาคตัดขวาง (Cross-cutting theme) ซึ่งได้มีข้อเสนอให้ย้ายเรื่อง การจัดเก็บและจัดทำมาตรฐานด้านข้อมูล (Data Collection and Standardization) และนโยบายและการสร้างความตระหนักสาธารณะ (Advocacy and Public Awareness) มาเป็นธีมแทน และมีการเสนอเพิ่มในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมและความหลากหลาย (Equity and Diversity) และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
เน้นกลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategies) ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยการสื่อสารภายในมีข้อเสนอให้ประเทศสมาชิก หาช่องทางสื่อสารกิจกรรมต่างๆ ไปสู่ภาคีที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และเป้าหมายไม่กระจาย ส่วนการสื่อสารภายนอกหรือการสื่อสารระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากการประชุมที่มีตามวาระซึ่งควรมีความถี่เพิ่มขึ้นแล้ว ควรมีกิจกรรมโครงการที่ทำร่วมกัน ทั้งโครงการนำร่อง และงานวิจัย และมีช่องทางการเผยแพร่ความก้าวหน้าในการดำเนินงานให้ประเทศสมาชิกอื่นรับทราบด้วยผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ social media โดยเฉพาะเว็บไซต์ควรสะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลของประเทศสมาชิก และผลผลิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น
มีการนำเสนอตัวอย่างการดำเนินงาน ในเรื่องที่เป็นกลุ่มหลัก เรื่อง การเยียวยาจากภัยพิบัติและเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ (Disaster Resilience and Trauma) และเรื่อง สุขภาวะในที่ทำงาน (Workplace Wellness and Resilience) รวมถึงสรุปการประชุมจากครั้งก่อนที่ประเทศฟิลิปปินส์
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา
· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)
การปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศไทย
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
· การดูแลสุขภาพจิต แรงงานไทยในต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
· Digital Transformation Program
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
· Autism Spectrum Disorder
ณ มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
· Psychotraumatology
ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
· Children with intellectual disabilities
ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น
การประชุม สัมมนาต่างประเทศ
· APEC digital hub for mental health 2019
ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
· APEC digital hub for mental health 2018
ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
· EUNETHYDIS 23rd International ADHD Conference 2013
ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค
HAPPY HOME ACADEMY
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
ศูนย์วิชาการ นำเสนอความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และรับจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
ศูนย์วิชาการออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี พัฒนาการเด็ก การบำบัดรักษาที่จำเป็น รวมทั้งการแพทย์เสริมและทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ