ประวัติและผลงาน
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
Psychotraumatology
Germany : Bonn, Essen, Cologne, Munich
ศาสตร์การดูแลรักษาบาดแผลทางจิตใจ
ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
วันที่ 11 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2549
Study-trip for Thai psychology and psychiatry experts, Germany.
Trauma คือเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ มีผลทำให้เกิดบาดแผลทางจิตใจขึ้น เป็นบาดแผลที่มองไม่เห็น แต่สามารถฝังลึกเกาะกินจิตใจไปเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้อย่างมากมาย ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
Visiting InWEnt
(Internationale Weiterbildung und Entwicklung gGmbH)
Herr Ralf Panse & Frau Elfriede Bader
บรรษัทจำกัด เพื่อการศึกษาเพิ่มพูนความรู้และการพัฒนาระหว่างประเทศ (InWEnt) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการพัฒนาบุคลากรและองค์กร ในสายงานความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยวางแผนการรายการต่างๆ เสนอผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหาร รวมทั้งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ จากภาคธุรกิจ การเมือง การปกครอง และองค์กร บริษัท ในภาคเอกชน
InWEnt ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยการรวมตัวของสองหน่วยงาน คือ CDG และ DSE โดยมีรัฐบาลกลางแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยดำเนินการผ่านทางกระทรวงความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจแห่งสหพันธรัฐ (BMZ) และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ คือรัฐบาลของรัฐต่างๆ
InWEnt เป็นผู้ดูแลและประสานงานการจัดโปรแกรมการศึกษาดูงาน เรื่อง ศาสตร์การดูแลบาดแผลทางจิตใจ (Psychotraumatology) ของคณะจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากกรมสุขภาพจิต ในครั้งนี้ด้วย
Visiting BMG
(Bundesministerium for Gesundheit, the German Ministry of Health)
การต้อนรับจาก ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข เยอรมนี (BMG-Bundesministerium for Gesundheit) และบรรยายให้เห็นภาพรวมของนโยบาย และการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาผู้ที่มีบาดแผลทางจิตใจ (trauma)
ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งสมัยนั้นมีค่ายกักกันชาวยิว เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประชาชนส่วนหนึ่งมีปัญหาทางจิตใจและต้องการการช่วยเหลือ จึงจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือทางด้านจิตใจเกิดขึ้น
การสาธารณสุขของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเน้นที่ ระบบการดูแลประชาชนทั้งทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยประชาชนทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยก็สามารถรับบริการได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย
เหตุที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องของสุขภาพจิต เนื่องจากพบว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นหนึ่งในสามของปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งผลให้บุคคลต้องออกจากงานก่อนเวลาอันควร ส่งผลถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพราะเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่าต่อการพัฒนาประเทศ โดยนโยบายปัจจุบันจะเน้นเรื่องของการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
ต้อนรับโดย Mr.Thomas Hofmann, Deputy Head of Division “Multilateral Cooperation" in the Federal of Health และ Dr.Strache ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ประจำกระทรวง
Essener University Hospital
Overview of Psychotraumatology
by Helgar Matthess, MD, Psychoanalyst, Psychotherapist, EMDR-trainer
Dr.Helgar Matthess
ambulance for traumatology
by Dr.Mollering และคณะ
Dr.Andrea Mollering & Dr. Wirz Fischer
ในปัจจุบันนี้ พบว่า PTSD มีความเชื่อมโยงกับสมองส่วนต่าง ๆ ได้แก่ Thalamus, Amygdala, Hippocampus, Frontal Cortex และ Broca's area นอกจากเรื่องของสมองแล้ว ยังพบว่าเรื่องของความผูกพันธ์ (Attachment) ในวัยเด็กระหว่างแม่ลูกมีผลต่อการเกิด PTSD ด้วย ผู้ที่มีปัญหา Attachment ในวัยเด็ก มีแนวโน้มจะปรับตัวต่อ Trauma ได้น้อยกว่า ในทำนองเดียวกัน หากปล่อยให้เกิด Trauma นานเท่าใด ปัญหา Attachment ก็จะมากขึ้นเท่านั้น
ในการบำบัดรักษาเด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ เพราะเด็กยังไม่สามารถสื่อสารด้วยวาจาได้ดี จึงต้องใช้วิธีให้เด็กวาดรูป และการเล่น เพื่อประเมินอาการของเด็ก และเมื่อบำบัดแล้ว การวาดภาพและการเล่น ก็จะเป็นการประเมินความก้าวหน้าในการรักษาได้ด้วย
ฟังบรรยายสรุปภาพรวมของ Psychotraumatology และฝึกปฏิบัติการใช้ Imaginary Technic (Inner Safe Place) ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจ
Institute for Clinical Psychology and Psychotherapy (IKPP), Cologne
Multidimentional Psychodynamic Trauma Therapy - MPTT
by Prof.G.Fischer, Psychotherapist
Prof.G.Fischer
ฟังการบรรยายวิชาการ แนวคิดการดูแลรักษาผู้ที่มีบาดแผลทางจิตใจ โดยวิธี Multidimentional Psychodynamic Trauma Therapy - MPTT ซึ่งมีช่วง Stabilization
เพื่อเตรียมความพร้อมของภาวะจิตใจให้คงที่ และช่วงการบำบัดอีก 10 คาบ ดังนี้
· คาบที่ 1–5 เป็นการจัดการกับความคิดของผู้ป่วย (เกี่ยวข้องกับสมองส่วน Hippocampus)
· คาบที่ 5–8 เป็นการจัดการกับอารมณ์ของผู้ป่วย (เกี่ยวข้องกับสมองส่วน Amygdala)
· คาบที่ 8–10 เป็นช่วงผสมผสาน Self ของผู้ป่วยกับ Trauma (เกี่ยวข้องกับสมองส่วน Prefrontal Lobe)
Institute of Psychological Emergency Aftercare (IPU), Cologne
Kolner Model & Referential Therapy
by Prof.Dr.habil Wilfried Echterhoff
and Dipl.-Psych.Anke Trautmann
“Kolner Model” เป็นรูปแบบการดูแลด้านสุขภาพจิตสำหรับสหกรณ์อาชีพต่างๆ ประกอบด้วย 3 โปรแกรม คือ
1) โปรแกรมการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต โดยการฝึกอบรมให้ความรู้สุขภาพจิต วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุแก่พนักงาน และให้หัวหน้างานเห็นความสำคัญของสุขภาพจิตพนักงานด้วย
2) โปรแกรมการให้ความช่วยเหลือทางจิตใจเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
3) โปรแกรมการบำบัด โดยสถาบันจะมีเครือข่ายผู้บำบัดทั่วประเทศ เมื่อมีพนักงานประสบเหตุ สหกรณ์อาชีพจะแจ้งให้สถาบันฯ ทราบ
และจะส่งพนักงานที่ประสบเหตุไปรับการบำบัดในเขตที่อยู่ของพนักงานเอง
ฟังการบรรยายวิธีการบำบัดที่เรียกว่า Referential Therapy ซึ่งเน้นการแก้ไขจุดอ้างอิง (Reference) มุมมองชีวิตที่บิดเบือนเสียสมดุลไปหลังเกิด trauma โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1) ช่วง Emotional Relieving ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย โดยพูดถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามที่อยากจะพูด
2) ช่วง Setting up and Re-arranging เป็นการเสริมสร้างให้ผู้ป่วยมีความเข้มแข็งทางอารมณ์ และอยู่ในโลกของความเป็นจริง
3) ช่วง Assimilation and Accommodation of Reality เตรียมผู้ป่วยให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และเตรียมใจว่าหากเกิดเหตุร้ายขึ้นอีกจะทำอย่างไรต่อไป
Department of Psychology, University of Munich
(Ludwig-Maximilians University : LMU)
by Prof.Dr.Rita Rosner, Psychotherapist และคณะ
Prof. Rita Rosner กล่าวต้อนรับ และแนะนำรายการศึกษาดูงานตลอดสัปดาห์ และเล่าถึงประสบการณ์การทำงานในบอสเนีย ซึ่งมี 3 ด้าน คือ
1) ด้านการศึกษาอบรม ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และองค์การยูนิเซฟ ในการพัฒนาหลักสูตร Trauma Psychology เพื่ออบรมนักจิตวิทยาในบอสเนีย
เพื่อให้สามารถให้การช่วยเหลือและบำบัดผู้ป่วยที่มีบาดแผลทางจิตใจจากภัยสงคราม
2) ด้านการศึกษาวิจัย ได้ทำวิจัยเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตจากภัยสงครามของชาวบอสเนีย
3) ด้านการพัฒนาเครือข่าย โดยร่วมมือกับหน่วยงาน Clinical Psychology in South-eastern Europe (CLIPSEE)
และ DAAD ในการให้ทุนแก่นักศึกษาและอาจารย์ และการผลิตตำราทางจิตวิทยาคลินิก
Mr. Ulrich Goldman บรรยายถึงลักษณะการทำงานของภาควิชาจิตวิทยา ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการเรียนการสอน การให้บริการปรึกษา และการศึกษาวิจัย
Dr. Markos Maragkos บรรยายเกี่ยวกับโครงการวิจัย 4 โครงการของภาควิชานี้ ได้แก่
1) โครงการจิตวิทยาในกรณีฉุกเฉิน โดยพัฒนาหลักสูตร และให้การอบรมนักจิตวิทยา พนักงานดับเพลิง พนักงานประจำรถพยาบาลฉุกเฉิน เกี่ยวกับเรื่องบาดแผลทางจิตใจ
และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในกรณีฉุกเฉิน
2) โครงการบำบัดความเครียด โดยการผสมผสาน CBT กับ Humanistic
3) โครงการศึกษาวิจัยสุขภาพจิตในพนักงานดับเพลิง พบว่ามีปัญหาการติดสุรากันมาก และพบ PTSD เพียง 4%
4) โครงการประเมินการบำบัดจากจิตแพทย์
และเล่าถึงผลศึกษาวิจัยของตนเรื่อง Crisis Intervention after the Tsunami in Phuket and Khao Lak ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Crisis 2006; Vol. 27(1): 42-47.
โปรแกรมบรรยายโดยทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมิวนิก
Prof.Rita Rosner, Mr.Ulrich Goldmann, Dr.Markos Maragkos
TISEI Project (Tsunami International Survey on Emotional Impact)
by Prof.Dr.Eric Vermetten จิตแพทย์ประจำ Rudolf Magnus Institute of Neuroscience, Netherland
Prof.Dr.Eric Vermetten
TISEI จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านจิตใจหลังเกิดภัยพิบัติสึนามิ ซึ่งมี 15 ภาษา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ไทย เดนมาร์ก เยอรมัน ฯลฯ โดยประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ การตอบคำถามและให้บริการปรึกษาทางอินเตอร์เน็ต มี Forum ให้แจ้งข่าวสารซึ่งกันและกัน รวมทั้งการให้ความรู้ และเอกสารเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
Frau Marion Kruesmann & Frau Regina Karl
พบกับ Frau Marion Kruesmann และ Frau Regina Karl ผู้ทำการวิจัยในกลุ่มอาสาสมัครดับเพลิงเกี่ยวกับการป้องกันและปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตหลังปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการศึกษาทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับปัญหาทางจิตใจจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดับเพลิง ระยะที่สอง เป็นการพัฒนาหลักสูตร และระยะที่สาม เป็นการทดลองหลักสูตรและประเมินผล
Spiritual support during acute stress
PR. Ulrich Keller
บาทหลวง PR. Ulrich Keller เคยมาช่วยผู้ประสบภัยพิบัติสึนามิที่เป็นชาวเยอรมันที่จังหวัดภูเก็ต ได้เล่าถึงการเผชิญกับภาวะเศร้าโศกและไว้ทุกข์ของญาติผู้เสียชีวิต โดยเปรียบเทียบกับการเดินทางผ่านประตูน้ำ ซึ่งต้องผ่านการปรับระดับหลายครั้งเพื่อเข้าสู่สมดุล เหมือนกับพิธีกรรมงานศพที่จะช่วยให้ผู้สูญเสียค่อย ๆ ปรับจิตใจเข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ได้ช่วยเหลือให้ผู้สูญเสียยอมรับว่าความตายเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่มีอะไรควบคุมความตายได้
Linking Emergency Medical Service and Psychosocial Service
Dr.Muller-Cyran
Dr.Muller-Cyran ผู้ก่อตั้งหน่วย Crisis Intervention Team (KIT) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประสบเหตุเกิดบาดแผลทางจิตใจเมื่อพบกับภัยพิบัติ จึงจำเป็นต้องให้ Crisis Intervention ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก การให้ความช่วยเหลือในระยะ Peritrauma หรือในช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ผู้บำบัดจะเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุภายใน 15 – 20 นาที และให้บริการในทันทีและติดตามในช่วงระยะเวลาหนึ่งเดือน
Psychosocial Emergency Concept of the city of Munich
Frau Hormann & Frau Semone
Frau Hormann & Frau Semone เป็นคณะกรรมการเตรียมการช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ประสบภัย ในกรณีฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นที่นครมิวนิกในเดือนมิถุนายน 2006 โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ คือ
· ระยะฉุกเฉิน จะเป็นหน้าที่ของตำรวจและพนักงานดับเพลิง
· ระยะเชื่อมต่อ อยู่ในระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ซึ่งหน่วยงานนี้จะรับผิดชอบในการให้ความรู้ และดูแลจิตใจผู้ประสบภัย
· ระยะยาว ช่วง 6 สัปดาห์ถึง 1 ปี จะเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขตามปกติ
Development of Culturally Sensitive Counselling in the aftermath of Disaster
Dr.Tine Adler
Dr.Tine Adler จาก innot ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่รับจัดการฝึกอบรมบุคลากรด้านจิตวิทยา และให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Psychotraumatology ได้บรรยายเกี่ยวกับการทำงาน ในโครงการที่เมือง Beslan ซึ่งเป็นเขตปกครองอิสระของรัสเซีย
จากการที่เกิดกรณีผู้ก่อการร้าย 30 คน บุกจับนักเรียนชั้นประถมและผู้ปกครอง 1,500 คน เป็นตัวประกัน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2004 และทำให้มีผู้เสียชีวิตตามรายงานของรัฐ จำนวน 339 คน ทำให้มีบาดแผลทางจิตใจจำนวนมาก ทางรัฐบาลรัสเซียจัดส่งนักจิตวิทยาเข้าไปให้บริการปรึกษา แต่ปรากฏว่าชนพื้นเมืองไม่นิยมไปรับบริการปรึกษา จึงได้จ้างให้หน่วยงานนี้ให้เข้าไปวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการอบรม โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองที่นี่ก่อน เพื่อจะได้ให้บริการอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
WKA-Clinic, Diez
by PD.Dr.med.S Hartmann และคณะ
WKA-Clinic สถานพยาบาลเอกชนสำหรับครอบครัว ดูแลทั้งโรคทางร่างกายและจิตใจ และมีแผนกเฉพาะทางสำหรับการรักษาภาวะบาดเจ็บทางจิตใจ (Psychotrauma)
นำเยี่ยมชมบรรยากาศในสถานพยาบาล WKA โดย Frau Monika Kessner
Herr Hanneppel
Dr.S Hartmann
Frau Monika Kessner
ฟังบรรยายแนวคิดการดูแลรักษาผู้ป่วย Trauma โดย Dr.S Hartmann และ Herr Hanneppel
Mr. Hannappel นักจิตบำบัดที่เชี่ยวชาญเรื่องเด็ก เล่าถึงประสบการณ์ในการบำบัดผู้ป่วยเด็กว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บำบัดและเด็ก จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน ในครั้งแรก ๆ ของการบำบัด ควรเข้าหาเด็กตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน เช่น ปล่อยให้เด็กเล่น หรือทำในสิ่งที่ต้องการ โดยไม่ขัดขวาง ซึ่งจะช่วยลดความกลัวในเด็กลงด้วย หลักในการบำบัดจะช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารถึงประสบการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลทางจิตใจ ด้วยภาษาของตนเอง หรือการเล่นซ้ำ ๆ จนทำให้เด็กมีพัฒนาการ และสามารถคลี่คลายปัญหาได้ในที่สุด
ชมการสาธิต และฝึกปฎิบัติ ในการทำ EMDR โดย Herr Copper นักจิตวิทยา และการทำ Myoreflex Therapy โดย Herr Danser นักกายภาพบำบัด
Herr Copper
EMDR ผู้บรรยายได้เปรียบเทียบว่าสมองส่วน Hyppocampus ว่าทำหน้าที่เกี่ยวกับ Cold Information และ Amygdala ทำหน้าที่เกี่ยวกับ Hot Information ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง สมองจะเกิดการแยกส่วน บุคคลจะไม่สามารถสู้ หรือหนี (Fight or Flight) ได้ แต่จะเกิดอาการชะงักหยุดนิ่ง (Freeze) ในการบำบัดจึงต้องเชื่อมต่อสมองทั้งสองส่วนโดยการใช้เทคนิค EMDR และได้อธิบายเทคนิควิธี พร้อมทั้งสาธิตการทำ EMDR
Myoreflex Therapy ผู้ป่วย PTSD มักจะมีปัญหาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจหมอนรองกระดูกอักเสบ ปวดบริเวณไหล่ เป็นต้น ซึ่งถ้าได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก็จะช่วยให้เปิดรับเหตุการณ์ภายนอกได้ดีขึ้น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน โดยการกดจุดที่เชื่อมต่อบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อ จะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ และส่งสัญญาณให้สมองรับรู้ว่าจะต้องผ่อนคลาย จากนั้นได้สาธิตการนวดแบบกดจุด และฝึกปฏิบัติการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น ท่าสุริยะนมัสการของโยคะ เป็นต้น
Advances in Modern Psychotraumatology
by Helgar Matthess, MD และคณะ
Psychoanalyst, Psychotherapist, EMDR-trainer
Dr.Helgar Matthess & Dr.Wolgang Woller
ฟังบรรยายวิชาการ เรื่อง "Trauma and Personality Disorder" โดย Dr.Wolgang Woller ช่วยให้เห็นภาพความเชื่อมโยงของปัญหาด้านบุคคลิกภาพ ซึ่งเป็นผลจาก Trauma ในวัยเด็ก โดยเฉพาะ Borderline Personality Disorder นำเสนอกรณีศึกษา ลงรายละเอียดในเรื่อการดูแลรักษา ซึ่งเน้นในการสร้างความสัมพันธ์ในการรักษาที่ดี (Therapeutic Relationship) และเพิ่มความสามารถในการจัดการอารมณ์ (emotional regulation capacity) ดูการสาธิต และฝึกปฏิบัติ เทคนิคต่างๆ ในการ Stabize ผู้รับการบำบัด โดยการใช้จินตนาการ ได้แก่ Inner Safe Place Technic, Container Technic, Screen Technic
Herr Arne Hofmann
ฟังบรรยายแนวคิด และวิธีการทำ EMDR (Eye Movement Desensitization and Reprocessing) โดย Herr Arne Hofmann ชมการสาธิตและฝึกปฏิบัติเทคนิคการทำ Absorption Tecnic ของ EMDR ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก (ในเด็กจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า Butterfly Hug)
Visiting Essen Police Office
Frau. Andrea ได้นำคณะดูงานเยี่ยมชมระบบการจัดการในภาวะภัยพิบัติ ที่หน่วยงานตำรวจของเมืองเอสเซ่น ซึ่งมีแผนรองรับที่ชัดเจน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตำรวจเยอรมัน ที่มาปฏิบัติงานในเมืองไทย ช่วงเกิดเหตุการณ์สึนามิ เพื่อเก็บหลักฐาน และการพิสูจน์บุคคล
ตำรวจของเมืองเอสเซ้นท์จะได้รับการอบรมความรู้สุขภาพจิตเกี่ยวกับเรื่อง Trama จากผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลเอสเซ่นด้วย และมีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง
ต้อนรับและบรรยายให้ความรู้โดย Mr. Goldmann หัวหน้าสำนักงานตำรวจเอสเซ้นท์ Mr. Mueller หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ Mr. Michael Weskamp หัวหน้าแผนกป้องกันอาชญากรรมและคุ้มครองผู้ประสบภัย และ Mr. Stephan Merscheim นายตำรวจที่ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในประเทศไทย
Visiting Munich Fire Control Center
เยี่ยมชมการทำงานด้านสุขภาพจิตของหน่วยดับเพลิงในเมืองมิวนิก ซึ่งมีทีมงานจัดการความเครียดในภาวะฉุกเฉิน (CISM-Critical Incident Stress Management) ทีมรถเคลื่อนที่ช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตสำหรับผู้ประสบภัย (KIT-Crisis Intervention Team) และทีมช่วยชีวิต (Rescue Team)
ต้อนรับและบรรยายให้ความรู้โดย Mr.Gerhard Schmuller, CISM Team, Munich Fire Department
Visiting BBK, Cologne
(Bundesamt for Bevolkerungsschutz and Katatrophenhife)
เยี่ยมชม BBK ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง ที่จัดให้ความช่วยเหลือชาวเยอรมัน ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ ที่เกิดนอกประเทศเยอรมนี มีจุดประสานงานเพื่อการดูแลภายหลังเหตุการณ์ การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย รวมถึงครอบครัวของผู้ประสบภัยด้วย มีชื่อว่า NOAH (Nachsorge Opferund Angehorigenhilfe) ได้ฟังบรรยายขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงานนี้ หลังเกิดเหตุภัยบิบัติสึนามิ
ต้อนรับและให้ความรู้โดย Frau Annika Fritsche และ Frau Kerstin Froeschke
Sightseeing and Cultural Program
Bonn / Essen / Cologne / Munich
เมืองบอนน์ (BONN)
ชมบ้านเกิดของบีโธเฟน นักดนตรีระดับโลก
เมืองเอสเซ่น (ESSEN)
เมืองเอสเซ่น เมืองหลวงแห่งวัฒนธรรม ปี 2010
เมืองโคโลญ (COLOGNE)
เยี่ยมชม Cologne Cathedral (DOM)
ซึ่งทาง UNESCO ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยว มาเยี่ยมชมมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเยอรมนี มี St.Peter Bell ซึ่งเป็นระฆังใบใหญ่ที่สุดในโลกที่สะมารถสั่นได้
เมืองมิวนิก (MUNICH)
เมืองมิวนิก รัฐบาวาเรีย เป็นเมืองศิลปะ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
Marien Platz ลานกว้างขนาดใหญ่ใจกลางเมืองมิวนิก มีการแสดงตุ๊กตาเต้นรำที่ New Town Hall เวลา 11.00 น., 12.00 น. และเพิ่มรอบ 17.00 น. ในฤดูร้อน
ชมสวนในพระราชวัง Nymphenburg
ชมตำนานโรงเบียร์ และบรรยากาศเบียร์การ์เด้น
ชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Deutsches Museum
Mind Map: Summary of Study Program In Germany
download mind map »Program
12/10/2006 arrival at Frankfurt , transfer to Bonn, salutation at InWEnt
13/10/2006 salutation at German Ministry of Health (BMG), transfer to Essen
13-15/10/2006 tutorial "Psychotraumatology" by Humanitarian Assistance Programs (HAP)
16-17/10/2006 hospitation at Essener university hospital, ambulance for traumatology
18/10/2006 tansfer to Cologne, tutorial "Multidimentional Psychodynamic Traumatherapy - MPTT" by Institute for clinical psychology and psychotherapy (IKPP), Cologne
19/10/2006 tutorial "Psychological in case of emergency management" by Institute of psychological emergencyaftercare (IPU), Cologne
20/10/2006 visiting BBK, Bonn
21/10/2006 sightseeing, transfer to Munich
23-27/10/2006 hospitation at Munich university hospital
29/10/2006 sightseeing, transfer to Diez
30/10/2006 hospitation at WKA-Clinic, Diez, transfer to Essen
31/10/2006 - 01/11/2006 seminar "Advances in modern Psychotraumatology" by EMDRIA
02/11/2006 hospitation at hospitals with EMDR-treatments
03/11/2006 evaluation of the visit, leave-taking by InWEnt
04/11/2006 transfer to Frankfurt, Departure
Suparat Ekasawin
Child and Adolescent Psychiatrist
Thaweesak Sirirutraykha
hild and Adolescent Psychiatrist
Inthira Padmindra
Clinical Psychologist
Kanchana Wanitrommanee
Clinical Psychologist
Somsri Kittipongpisan
Clinical Psychologist
Ranee Chayintu
Social Worker
Sujit Sungkaew
Clinical Psychologist
Adhichati Rochanahastin
Clinical Psychologist
ขอขอบคุณ
Frau Sangsri Gotzfried
ล่ามชาวไทยในเยอรมนี
Frau Heidi Friedrichs
ผู้ดูแลและประสานงานตลอดโปรแกรม
ด้วยการสนับสนุนจาก
กระทรวงสาธารณสุข สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
บรรษัทจำกัด เพื่อการศึกษาเพิ่มพูนความรู้และการพัฒนา ระหว่างประเทศ (InWEnt)
สถานฑูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม
InWEnt - Internationale Weiterbildung und Entwicklung gGmbH
www.inwent.org »
ISTSS - The International Society for Traumatic Stress Studies
www.istss.org »
TISEI - Tsunami International Survey on Emotional Impact
www.tisei.org »
CPG PTSD (Post Traumatic Stress Disorder)
www.nice.org.uk »
ภาษาเยอรมัน
EMDRIA
www.emdria.com »
INNOT - Interdisciplinary Emegency Management and Training
www.innot.net »
Psychotraumatology Institute - Europe
www.psychotraumatology-institute-europe.com »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา
· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)
การปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศไทย
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
· การดูแลสุขภาพจิต แรงงานไทยในต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
· Digital Transformation Program
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
· Autism Spectrum Disorder
ณ มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
· Psychotraumatology
ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
· Children with intellectual disabilities
ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น
การประชุม สัมมนาต่างประเทศ
· APEC digital hub for mental health 2019
ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
· APEC digital hub for mental health 2018
ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
· EUNETHYDIS 23rd International ADHD Conference 2013
ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค
HAPPY HOME ACADEMY
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
ศูนย์วิชาการ นำเสนอความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และรับจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
ศูนย์วิชาการออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี พัฒนาการเด็ก การบำบัดรักษาที่จำเป็น รวมทั้งการแพทย์เสริมและทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ