ประวัติและผลงาน
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
Autism Spectrum Disorder
USA, Northern Colorado
ฝึกอบรมเรื่องออทิสติก
ณ เมือง Greeley มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
วันที่ 1–30 กันยายน 2547
ศึกษารูปแบบการดูแลเด็กออทิสติก และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียน และศูนย์ออทิสติก ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยศึกษารูปแบบต่างๆ ที่จัดตามช่วงอายุ ระดับพัฒนาการ และความรุนแรงของปัญหา
LAB School
University of Northern Colorado
ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ ในโรงเรียนมีการจัดระดับการศึกษาเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงระดับ High school
การศึกษาพิเศษใช้หลักของการปรับพฤติกรรม ( Behavioral modification ) โดยเน้นการสร้างสัมพันธภาพกับเด็กเป็นสำคัญ ในการปรับพฤติกรรม ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า
Motivation Development Scale ซึ่งใช้ตั้งแต่ one specific behavior จนถึง serious intervention โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่
1.Independent
2.Gesture
3.Verbal
4.Partial Physical Support
5.Full Physical Support
ขอขอบคุณ Mrs.Julie Claeys และ Mrs.Ann ที่ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ
IDEALS Program
The Hope Apartment
IDEALS Program (Individual Development of Essential Age – Appropriate Living Skills) เป็นโปรแกรมสำหรับวัยรุ่น อายุ 18 - 21 ปี ซึ่งในโครงการมีเด็กในการดูแลอยู่ 10 คน หลากหลายปัญหาดังนี้ Cerebral Palsy on wheel chair 3 คน Mutiple Disablities 3 คน Autism 1 คน Down Syndrome 1 คน Fragile-X syndrome 1 คน Penta–X syndrome 1 คน เน้นฝึกทักษะในการดำเนินชีวิตประจำวันที่บ้านและในสังคม ด้วยตนเอง โดยฝึกการทำงานบ้าน การซื้อของในซุปเปอร์มาร์เกต การขึ้นรถประจำทาง การใช้ห้องสมุด การเรียนรู้เรื่องความปลอดภัย เช่น การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน การระมัดระวังอันตรายจากคนแปลกหน้า
ขอขอบคุณ Ms.Jennifer Sedegaht ที่ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ
O'dea Elementary School
เป็นโรงเรียนที่มีชั้นเรียนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา มีนักเรียนทั้งหมด 320 คน การศึกษาพิเศษในโรงเรียนแห่งนี้ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
LEVEL 1
สำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรง เช่น ออทิสติก หรือ Severe Mental Retardtation แผนการสอน เน้นในเรื่องการฝึกทักษะชีวิตประจำวัน และทักษะทางสังคม และพัฒนาการทางด้านต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อมัดเล็กกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส่วนในด้านการสื่อสาร ใช้วิธี Pointing และ PECS และจะมีนักแก้ไขการพูด ประเมินและฝึกเด็กอย่างสม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
ชั้นเรียนนี้ประกอบด้วยเด็ก 4 คนและครูการศึกษาพิเศษ 4 คน สอนแบบตัวต่อตัว ในชั้นเรียนแบ่งออกเป็นสัดส่วน มีมุมสำหรับเด็กแต่ละรายเพื่อรับการฝึกแบบรายบุคคล มุมสำหรับพักผ่อน ดูโทรทัศน์ เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์ ฟังเพลง มุมฝึกพูด มุมทำอาหาร พื้นที่ส่วนกลาง สำหรับการฝึกแบบกลุ่ม เด็กจะผ่านสู่ level 2 เมื่อสามารถนั่งเรียนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีครูควบคุมอย่างใกล้ชิด
LEVEL 2
สำหรับเด็กที่ได้รับการฝึกจาก level 1 มีอาการดีขึ้น และสามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดได้ สามารถนั่งทำงานได้ตามลำพังโดยไม่ต้องครูควบคุม การสอนจะเน้นทักษะพื้นฐานทางด้านการเรียนง่ายๆ เช่น การนับเลข การจับคู่ การเรียนรู้สี เป็นต้น และมีการฝึกอาชีพเบื้องต้น
ชั้นเรียนนี้ประกอบด้วยเด็กออทิสติกทั้งหมด 7 คน ครูการศึกษาพิเศษ 3 คน ใช้หลักการสอนโดยใช้ TEACCH Program ในการฝึกและใช้ PECS ช่วยในการฝึกทางด้านภาษา
LEVEL 3
สำหรับเด็กออทิสติกที่มี Higher Function เน้นในเรื่องทักษะทางการเรียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการอ่าน การเขียน โดยจัดตารางเรียนตามความสามารถของเด็กแต่ละคน มีการจัดให้เด็กเรียนร่วมชั้นเรียนปกติ บางวิชา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา วิทยาศาสตร์และศิลปะ ในชั้นเรียนประกอบด้วยเด็กออทิสติก 10 คน ครูการศึกษาพิเศษ และเด็กอาสาสมัครมาเล่นกับเด็กพิเศษ เพื่อฝึกทักษะทางสังคมและทักษะการเล่น เช่น การเล่นเกมส์ การ Take turn
ขอขอบคุณ Mrs.Lisa M. Hernandez ที่ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ
Scott Elementary School
ศึกษาดูงานในชั้นเรียน ILC (Intensive Learning Classroom) ซึ่งเป็นห้องเรียนสำหรับเตรียมความพร้อมในเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปานกลางถึงรุนแรง ก่อนที่จะเข้าเรียนกับเด็กในชั้นเรียนปกติ โดยแบ่งการเรียนการสอนเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้า กลุ่มเด็กระดับปานกลาง และช่วงบ่ายเป็นเด็กระดับรุนแรง
การเรียนการสอนเป็นแบบตัวต่อตัว เน้นการเตรียมการพร้อมเพื่อการเรียนในชั้นเรียน ฝึกเรื่องการอ่าน การเขียน การคำนวณ ร่วมกับการฝึกพูด กายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดตามความจำเป็นของเด็ก ในกรณีที่เด็กไม่สามารถสื่อสารได้ จะนำ PECS มาใช้ มีการวางแผนการสอนโดยใช้ IEP และมีการประเมินผลโดยนักจิตวิทยาโรงเรียนทุกปี และประเมินโดยละเอียดทุก 3 ปี
มีการจัดห้องเรียนโดยแบ่งสัดส่วนชัดเจน โดยแบ่งเป็นมุมต่างๆ เช่น มุม Time out มุมพักผ่อน มุมสำหรับการเรียนการสอนรายบุคคล โต๊ะสำหรับเด็กนั่งทำกิจกรรมด้วยตนเอง
ขอขอบคุณ Ms.Erica Fristler ที่ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ
Monfort Elementary School
เป็นโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล – ประถมศึกษา มีการจัดการเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยมีครูการศึกษาพิเศษ 3 คน
รับผิดชอบการดูแล โดยแบ่งตามประเภทเด็ก ดังนี้
· ออทิสติก และ ความบกพร่องทางสติปัญญา (Autistic and Mental Retardation)
· ปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม (Emotional and Behavioral problem)
· ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorder)
การวางแผนการเรียนการสอนใช้ IEP (Individualized Educational Program) โดยมีการประเมินเด็กอย่างครอบคลุมทุกด้าน โดยใช้แบบประเมินต่างๆ เช่น WISC – III, Vineland social adaptive scale, Social skill record scale มีการประเมินทุกปี โดยนักจิตวิทยาโรงเรียน
การประเมินผลมุ่งเน้นทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าด้านวิชาการ มักจะส่งเด็กเรียนร่วมชั้นเรียนปกติ ตามอายุของเด็ก โดยไม่พยายามให้ซ้ำชั้น สำหรับเด็กที่ไม่สามารถเรียนร่วมได้ จะได้รับการฝึกอาชีพ หรือการช่วยเหลือตนเองที่บ้านต่อไป
เด็กที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ หรือปัญหาทางพฤติกรรมอย่างรุนแรง ทางโรงเรียนจะติดต่อแพทย์ประจำตัวเด็ก เพื่อให้การดูแลรักษา และในกรณีที่เด็กต้องได้รับยา ทางโรงเรียนจะมีพยาบาลประจำโรงเรียนเป็นผู้ดูแลให้
สำหรับการฝึกทักษะทางสังคม จะใช้บทบาทสมมติให้เด็กได้ลองทำในชั้นเรียนก่อน หลังจากนั้นให้ปฏิบัติจริงในสนามเด็กเล่นช่วงพัก โดยมีครูการศึกษาพิเศษคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ
เด็กที่ปัญหาในการสื่อสารจะใช้บัตรภาพเพื่อช่วยในการสื่อสาร ที่เรียกว่า PECS (Picture Exchange Communication System) โดยเด็กจะมีสมุดประจำตัวเพื่อฝึกกับครูการศึกษาพิเศษ และนำกลับไปให้ผู้ปกครองฝึกต่อที่บ้าน
สื่อการสอนส่วนใหญ่ทางโรงเรียนประดิษฐ์ขึ้นเอง โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ง่ายๆ ตามตัวอย่าง ดังรูป
Maplewood Middle School
ศึกษาดูงานในชั้นเรียน ILC (Intensive Learning Classroom) ซึ่งเป็นห้องเรียนสำหรับเตรียมความพร้อมในเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปานกลางถึงรุนแรง ก่อนที่จะเข้าเรียนกับเด็กในชั้นเรียนปกติ
เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เกรด 6 – 8 นักเรียนทั้งหมด 580 คน โดยปัญหาการเรียนที่พบบ่อย คือ บกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) ประเภท Dyslexia โรงเรียนนี้มีครูการศึกษาพิเศษ 4 คน โดย 3 คน เป็นครูประจำแต่ละระดับชั้นเรียน อีก 1 คนเป็นครูประจำห้อง ILC ซึ่งห้อง ILC เด็กทั้งหมดมีปัญหาอยู่ในระดับรุนแรง ไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดได้ ดังนั้นการเรียนการสอนจึงใช้ PECS และ Visual Strategies ในบางวิชามีการเรียนร่วมกับเด็กปกติ เช่น วิชาศิลปะ ดนตรีและพลศึกษา
เน้นการฝึกทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training) เช่น การแต่งตัว การจัดห้องนอน การจัดเก็บเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว การฝึกงานบ้านง่ายๆ เช่น การทำอาหาร การทำความสะอาด การทำครัว อีกทั้งมีการฝึกทักษะสังคม เช่น การขึ้นรถประจำทาง การซื้อของ และฝึกทักษะทางอาชีพ โดย การแจกใบปลิวโฆษณา เพื่อเพิ่ม self-esteem และได้รับสิ่งตอบแทนเป็นรางวัล เช่น พิซซา และการฝึกใส่จดหมายตามช่อง โดยเรียงตามตัวอักษร มีการฝึกงานการบริการสังคม เช่น การเก็บเศษไม้
ขอขอบคุณ Ms.Jennifer Sedegaht ที่ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ
The Aspen Center for Autism
ศูนย์นี้เป็นองค์กรเอกชน ประเภทไม่แสวงหากำไร (Non Profit Organization) ผู้ปกครองที่นำเด็กมาฝึกต้องออกค่าใช้จ่ายเอง จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการทางด้านการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กออทิสติก ณ เมือง Denver โดยเน้นการพัฒนาในทุกด้าน รวมทั้งการสอนพฤติกรรมที่จำเป็นในสังคม เพื่อให้เด็กนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งที่บ้าน ในโรงเรียนและสังคม
การเรียนการสอนแบ่งตามช่วงอายุและระดับพัฒนาการ โดยแบ่งชั้นเรียนเป็น
· Toddler ฝึกตัวต่อตัว โดยใช้หลักของพฤติกรรมบำบัด และการสร้างทักษะทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้มีทักษะทางการสื่อสาร โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการฝึกเด็ก
และตั้งอยู่บนรากฐานของการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
· Pre school เน้นการฝึกการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเรียน บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และจะมีการประเมินอย่างเป็นขั้นตอน โดยจะมีการสอนตัวต่อตัว
โดยมีครูประจำที่รับผิดชอบดูแลอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็มีการหมุนเวียนครูที่สอนเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลและสถานการณ์ที่หลากหลายแตกต่างกัน
· School age เน้นทักษะทางด้านการเรียนและเสริมทักษะทางด้านสังคมเป็นหลัก มีการจัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชา รับดูแลเด็กที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้
ในการดูแลเด็กจะประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ เพื่อประเมินเด็ก มีการประชุมทีมสัปดาห์ละครั้ง เพื่อวางแผนการดูแลเด็ก และมีการประชุมผู้ปกครองทุกเดือน
ขอขอบคุณ Mrs.Karen Miracolo ที่ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ
ขอขอบคุณ อาจารย์เปีย ผู้ช่วยเหลือดูแลตลอดการเดินทาง
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา
· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)
การปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศไทย
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
· การดูแลสุขภาพจิต แรงงานไทยในต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
· Digital Transformation Program
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
· Autism Spectrum Disorder
ณ มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
· Psychotraumatology
ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
· Children with intellectual disabilities
ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น
การประชุม สัมมนาต่างประเทศ
· APEC digital hub for mental health 2019
ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
· APEC digital hub for mental health 2018
ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
· EUNETHYDIS 23rd International ADHD Conference 2013
ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค
HAPPY HOME ACADEMY
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
ศูนย์วิชาการ นำเสนอความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และรับจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
ศูนย์วิชาการออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี พัฒนาการเด็ก การบำบัดรักษาที่จำเป็น รวมทั้งการแพทย์เสริมและทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ