ประวัติและผลงาน
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ
การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
Child Psychiatric Services for Nargis Cyclone Survivors in Myanmar
ร่วมหน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ชุดที่ 2
ช่วงวันที่ 29 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายน 2551
ประกอบด้วยหน่วยแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุข และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จำนวน 32 คน
Thai Medical Team 2
under the patronage of His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn
Nargis Cyclone
หน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ชุดที่ 2 จำนวน 32 คน
ออกเดินทางโดยเครื่องบิน C130 กองทัพอากาศ สู่ประเทศพม่า ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2551
นำทีมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงฯ
การต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายไชยา สะสมทรัพย์
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปราชญ์ บุญวงศ์วิโรจน์
และทีมแพทย์พระราชทานฯ ชุดที่ 1 และ 2
ณ โรงแรม Chatrium นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า
สำรวจปริมาณยาและเวชภัณฑ์ ณ สถานฑูตไทย ในพม่า
แผนที่ประเทศพม่า
แผนที่มณฑลอิระวดี
พื้นที่ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กิส ในมณฑลอิระวดี
การเดินทางจากนครย่างกุ้ง สู่เมืองเมียวเมี๊ยะ (Myaung Mya) มณฑลอิระวดี (Ayeyarwady Devision) สถานที่ปฏิบัติงาน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่อพยพมาจาก เมืองลาบุตตา (Laputta)
ธรรมชาติของเด็กคือการเล่น เด็กในทุกสภาวะต้องการที่จะเล่น เพื่อผ่อนคลาย
ปลดปล่อยความเครียด และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ผ่านการเล่น
เด็กในค่ายผู้ประสบภัยก็แสวงหาการเล่นเช่นเดียวกัน ต้องการพื้นที่ในการเล่น ต้องการของเล่น
ฝาปลากระป่องก็สามารถนำมาดัดแปลงเล่นได้ เด็กโตเล่นฝา เด็กเล็กเล่นที่เปิดฝา แบ่งปันกันไป
หนังยางไม่พอ ก็เอามาผูกกับเชือกฟาง และเศษผ้าเท่าที่หาได้ ก็กระโดดหนังยางได้อย่างมีความสุขเช่นกัน
การนำเด็กกลับเข้าสู่วิถีชีวิตประจำวันให้เร็วที่สุด
ให้ได้เล่น ได้วาดรูป ได้เรียนหนังสือ และทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
เป็นวิธีป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กที่ดีที่สุด หลังประสบภัยพิบัติ
ภาพบรรยายเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กีส
นาร์กีสพัดมา คร่าชีวาผู้คน
ลมพัดหมุนวน ฝนเม็ดใหญ่มาก
คลื่นน้ำซัดสาด ครอบครัวพลัดพราก
เหตุการณ์ซ้ำซาก เช่นนี้ทั้งวัน
การดูแลช่วยเหลือทางจิตเวชเด็ก ในผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส
Child Psychiatric Services
for Nargis Cyclone Survivors in Myanmar
วัตถุประสงค์ (Objectives)
1) กระตุ้นให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน
(Encouragement of Peer Group Activities in Children)
2) ส่งเสริมให้มีการจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม และปรับเปลี่ยนความคิดให้ถูกต้อง
(Facilitating Emotional Expression and Cognitive Correction)
3) ดึงศักยภาพในตัวเด็กออกมาใช้
(Empowerment in Children)
4) คัดกรองโรคทางจิตเวช
(Screening for Psychiatric Disorders)
กลุ่มเป้าหมาย (Target Population)
เด็กผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ช่วงอายุ 6-12 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในเมืองเมียวเมี๊ยะ มณฑลอิระวดี ประเทศพม่า
(Children survivors from Nargis Cyclone between 6-12 years who live in government shelter in Myaung Mya district, Myanmar.)
โปรแกรม (Program)
1) กลุ่มจิตบำบัด (Group Psychotherapy)
2) จิตบำบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)
กลุ่มจิตบำบัด
Group Psychotherapy
• Ice Breaking Activities 20 minutes
• Drawing a Picture 30 minutes
• Stabilization, Exploration and Empowerment 30 minutes
• Psycho-education 10 minutes
Ice Breaking Activities
กิจกรรมละลายพฤติกรรม กระตุ้นการแสดงออก กระตุ้นการเคลื่อนไหว เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกลุ่มจิตบำบัด และให้ความรู้ในการดูแลตนเอง
Drawing a Picture
ให้เด็กแต่ละคนวาดรูป ระบายสี แบบอิสระ โดยไม่กำหนดหัวข้อ
เด็กชายอายุ 8 ปี สูญเสียเพื่อนไปหมด พ่อแม่ยังอยู่ ยังนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กลัวมากเวลามีฝนตก ฟ้าร้อง ใจสั่น เบื่ออาหาร ทานได้น้อยลง ผอมลง นอนไม่ค่อยหลับ ไม่ค่อยอยากออกไปเล่นกับเพื่อน เพื่อนชวนไปเล่นก็ไม่อยากไป
หนูกำลังรดน้ำต้นไม้อยู่ (ภาพซ้ายมือ) คลื่นก็พัดมาสูงมาก ปูลอยขึ้นไปบนฟ้า ต้นไม้ก็ลอยขึ้นไปบนฟ้า เพื่อนกำลังนั่งเรือตกปลาอยู่ (ภาพขวามือ) น้ำก็พัดลอยหายไป เพื่อนหายไปหมดทุกคน
เด็กชายอายุ 10 ปี สูญเสียพ่อ แม่ พี่สาว น้องสาว น้องชาย รวม 6 คน เหลือพี่ชายคนเดียว มีอาการกลัว ใจสั่น ได้ยินเสียงคนร้องขอความช่วยเหลือ ไม่อยากออกไปเล่น
ช่วงพายุมา ทุกคนในบ้านหนีไปอยู่บนหลังคาบ้าน แต่น้ำก็พัดมาสูงมาก ท่วมหลังคาบ้าน ทุกคนลอยไปตามน้ำ มีคนลอยมาเต็มไปหมด มีเสียงร้องขอความช่วยเหลือมากมาย ต้นไม้ก็ลอยมา เด็กลอยไปติดต้นไม้พร้อมกับพี่ชาย เกาะต้นไม้ไว้แน่นจึงรอดตายมาได้ แต่ทุกคนในบ้านตายหมด
Stabilization, Exploration and Empowerment
ให้เด็กเล่าเรื่องเกี่ยวกับรูปที่ตนเองวาด ถามถึงอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่มี แก้ไขความคิดที่ไม่ถูกต้อง ช่วยให้เด็กสามารถจัดการอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสมขึ้น ปรับเปลี่ยนสภาวะอารมณ์ให้คงที่ และเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการความรู้สึกนึกคิดโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
กรณีศึกษาที่ 1 การทำกลุ่มจิตบำบัด
เด็กชายอายุ 6 ปี สูญเสียพี่น้อง รวม 4 คน ส่วนพ่อ แม่ พี่ชาย ยังอยู่ด้วยกัน มีอาการหายใจขัด แน่นหน้าอก ตกใจง่าย ตื่นบ่อย ร้องไห้ตลอดเวลา ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
ทำกลุ่มครั้งที่ 1 ให้วาดรูปแบบอิสระ
เด็กวาดรูปคนนอนตายเต็มไปหมด ระบายสีไปได้สักพักก็หยุดระบาย เมื่อถามเด็กว่าไม่ระบายต่อแล้วหรือ เด็กตอบว่า "ตายหมดแล้ว ไม่ต้องระบายแล้ว"
ได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการปรับเปลี่ยนความคิด และระบายอารมณ์ความรู้สึก ให้สามารถจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น ปรับตัวกับปัญหาได้มากขึ้น
ทำกลุ่มครั้งที่ 2 ให้วาดรูปในวงกลมที่กำหนด แล้วตั้งชื่อรูปที่วาด
ตั้งชื่อรูปว่า "ตุ๊กตา" (Doll)
เด็กเล่าว่าเป็นตุ๊กตากำลังเล่นกันอยู่ เด็กเริ่มปรับตัวได้ดีขึ้น สามารถออกไปเล่นกับเพื่อนได้ ทานอาหารมากขึ้น
กรณีศึกษาที่ 2 การทำกลุ่มจิตบำบัด
เด็กหญิงอายุ 9 ปี พายุพัดเรือคว่ำ สูญเสียพ่อ ส่วนแม่ยังไม่รู้ข่าว อยู่กับพี่ชาย มีอาการกลัว ใจสั่น เบื่ออาหาร ผอมลง ไม่อยากเล่น ไม่สนุก ไม่อยากทำอะไร
ทำกลุ่มครั้งที่ 2 ให้วาดรูปในวงกลมที่กำหนด แล้วตั้งชื่อรูปที่วาด
ตั้งชื่อรูปว่า "วันที่มีคนตายมากที่สุด"
เด็กเล่าว่าเป็นรูปคนตายกับแสงแดด ตอนมืดๆ มองไม่เห็นอะไร พอแดดออก เห็นคนตายอยู่รอบๆ เต็มไปหมด
ได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำจิตบำบัด และทำจิตบำบัดรายบุคคลต่อหลังจากเสร็จสิ้นกลุ่มแล้ว
วิธีการบำบัด: "Butterfly Hug" (applied EMDR ในเด็ก)
เทคนิคที่ใช้ร่วม: " Container Technique" (เลือกใช้กล่องแทนเพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น)
จินตนาการว่าได้เก็บภาพความทรงจำที่เด็กวาดลงในกล่อง และเอาไปใส่ตู้ปิดไว้ ไม่ต้องไปดูมันอีก
Psycho-education
ให้ความรู้กับเด็กๆ ในการดูแลตนเอง การจัดการความกลัว และความรู้สึกต่างๆ ที่รบกวนชีวิตประจำวัน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่ม
Good Bye
และแล้วก็ถึงเวลาอำลา
หมายเหตุ
เด็กบางรายที่คัดกรองจากการทำกลุ่มแล้วพบว่ามีปัญหารุนแรง จะทำจิตบำบัดแบบเดี่ยว (Individual Psychotherapy) ต่อหลังจากจบกลุ่มบำบัดแล้ว
บ้านเด็กกำพร้า ที่ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส
เยี่ยมบ้านเด็กกำพร้าในเมืองเมียวเมี๊ยะ และทำกิจกรรมกลุ่มจิตบำบัด
เป็นบ้านที่จัดไว้เป็นการชั่วคราวในวิทยาลัยเกษตรฯ แห่งหนึ่ง และกำลังสร้างบ้านใหม่อยู่ สามารถรองรับเด็กกำพร้าได้จำนวนมาก มีสนามและพื้นที่สำหรับเด็กพอสมควร มีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ มีการส่งเด็กไปเรียนหนังสือในโรงเรียนใกล้เคียง
ทีมงานจิตเวชเด็ก
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา - จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
นส.จิราพร อภิวงศ์โสภณ - พยาบาลวิชาชีพ
นายศิขรินทร์ พันณะกิจ - พยาบาลวิชาชีพ
Mrs.Yee Sandar (Nange) - Translater
Laputta
การเดินทางสู่ลาบุตต้า (Laputta) เมืองที่ประสบความเสียหายรุนแรง จากพายุไซโคลนนาร์กีสถล่ม
กิจกรรมสันทนาการสำหรับเด็ก ในค่ายผู้ประสบภัย เมืองลาบุตต้า (Laputta)
ถ่ายรูปร่วมกับทีมงานแพทย์ชาวพม่า
รับมอบเกียรติบัตร และของที่ระลึกจากประเทศพม่า
ทีมผู้บริหาร
เรียงจากซ้ายไปขวา
นพ.โคโค่ไนน์ ผู้ประสานงานหน่วยแพทย์ (Laison)
นพ.จอโซว์ สาธารณสุขเมืองเมียวเมี๊ยะ
(DMO - Domestric Medical Officer)
นพ.วิรุณ บุญนุช ที่ปรึกษาฯ
นพ.คำรณ ไชยศรี หัวหน้าหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ชุดที่ 2
นายพลเต่งเส็ง นายกรัฐมนตรีพม่า เยี่ยมหน่วยแพทย์ฯ
บริการจิตเวชทั่วไป (General Psychiatry)
โดย...นพ.เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, นพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ และทีมงาน
* คัดกรองผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ประเมินระดับความเครียด โดยใช้แบบคัดกรอง The Kessler 6-item measurement
* กลุ่มให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การผ่อนคลายความตึงเครียด Breathing Exercise
* การทำจิตบำบัดรายบุคคล
* จัดทำเอกสารให้ความรู้ ในภาษาพม่า
บริการ Nerve Assist
โดย...นพ.องอาจ ศิริกุลพิสุทธิ์ และทีมงาน
การผ่อนคลายความตึงเครียด รูปแบบหนึ่ง
บริการทางทันตกรรม (Dental Services)
โดย...ทันตแพทย์นพ พรตระกูลเสรี และทีมงาน
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
โดยทีมแพทย์ไทยร่วมกับทีมแพทย์จาก ร.พ.เมืองเมียวเมี๊ยะ
พญ.ดรุณี, นพ.โชคชัย, พญ.จันทิรา, นพ.ศรายุทธ, นพ.ชุติเดช
พญ.ธัญจิรา, นพ.วิรุณ, นพ.วิชาญ, นายสุรพล, นายยงยุทธ
ภก.เรวัต และทีมพยาบาลจาก รพ.เมืองฉะเชิงเทรา รพ.พระนั่งเกล้า และ รพ.นพรัตน์ราชธานี
บรรยากาศการออกหน่วยแพทย์ ณ ค่ายผู้ประสบภัยจุดต่างๆ
การทำงานร่วมเป็นทีมเดียวกัน ของแพทย์ไทยและพม่า
รายนามหน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ชุดที่ 2
1. นพ.คำรณ ไชยศรี ศูนย์นเรนทร
2. นพ.เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา รพ.ศิริราช
3. ดร.ชนากานต์ บุญนุช รพ.ศิริราช (พยาบาลวิชาชีพ)
4. นพ.วิรุณ บุญนุช รพ.ศิริราช
5. พญ.ธัญจิรา จิรนันทกาณจน์ รพ.ศิริราช
6. นพ.ชุติเดช ตาบองครักษ์ รพ.สระบุรี
7. พญ.จันทิรา แก้วสัมฤทธิ์ รพ.พระนั่งเกล้า
8. พญ.ดรุณี ศรีวิไล รพ.พระนั่งเกล้า
9. น.ส.ดรุณี ศาสนกุล รพ.พระนั่งเกล้า (พยาบาลวิชาชีพ)
10. น.ส.รัณชรา ผินกลับ รพ.พระนั่งเกล้า (พยาบาลวิชาชีพ)
11. น.ส.ขนิฎฐา วิทยะสุนทร รพ.พระนั่งเกล้า (พยาบาลวิชาชีพ)
12. นายศิขรินทร์ พันณะกิจ รพ.พระนั่งเกล้า (พยาบาลวิชาชีพ)
13. นายเรวัต เตียสกุล รพ.พระนั่งเกล้า (เภสัชกร)
14. นพ.องอาจ ศิริกุลพิสุทธิ์ รพ.เมืองฉะเชิงเทรา
15. นพ.โชคชัย เหล่าอารยะ รพ.เมืองฉะเชิงเทรา
16. น.ส.ประภาศรี สังข์ศรีทวงษ์ รพ.เมืองฉะเชิงเทรา (พยาบาลวิชาชีพ)
17. น.ส.เขมิกา ใจบรรจง รพ.เมืองฉะเชิงเทรา (พยาบาลวิชาชีพ)
18. น.ส.จิราพร อภิวงศ์โสภณ รพ.เมืองฉะเชิงเทรา (พยาบาลวิชาชีพ)
19. นางมาเรียม นิ่มนวล รพ.นพรัตน์ราชธานี (พยาบาลวิชาชีพ)
20. นางวนิดา รุประมาณ รพ.นพรัตน์ราชธานี (พยาบาลวิชาชีพ)
21. นายธนวรรธน์ วรรณภักดิ์ รพ.นพรัตน์ราชธานี (พยาบาลวิชาชีพ)
22. นพ.ศรายุทธ อุตตมางคพงศ์ กรมควบคุมโรค
23. นพ.วิชาญ ปาวัน กรมควบคุมโรค
24. นพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ กรมสุขภาพจิต
25. นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา กรมสุขภาพจิต
26. นายสุรพล แสงรัตนชัย กรมอนามัย (นักวิชาการ)
27. นายยงยุทธ บุญขันท์ กรมอนามัย (นักวิชาการ)
28. ทพ.นพ พรตระกูลเสรี รพ.ลำพูน
29. นางวาสนา ฝั้นต๊ะ รพ.ลำพูน (ผู้ช่วยทันตแพทย์)
30. น.ส.ประภาศรี ซุกซอน รพ.ลำพูน (ผู้ช่วยทันตแพทย์)
31. น.ส.ประภัสสร จิราภรณ์ กรมสนับสนุนบริการ (สถาปนิก)
32. นายถาวร ขาวแสง กรมสนับสนุนบริการ (วิศวกร)
Myaung-Mya
บรรยากาศเมืองเมียวเมี๊ยะ (Myaung-Mya)
ชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย เบื้องหลังภารกิจสำคัญ
รูปแบบการตอบสนองต่อภัยพิบัติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
(Bio-Psychological Response Patterns)
Heroic Phase (ระยะวีรบุรุษ)
เกิดขึ้นทันทีหลังภัยพิบัติ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 3-7 วัน จะมี อาการตกใจมาก และชาด้านไปชั่วขณะ ไม่อยากเชื่อว่าเกิดภัยพิบัติขึ้นจริง จากนั้นก็จะช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่
ในการช่วยชีวิต ดูแลทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น เกิดการใช้พลังงานอย่างมาก มีการตื่นตัวตลอดเวลา
Honeymoon Phase (ระยะหวานชื่น)
ระยะเวลาในช่วงต่อมา ประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจะมีความรู้สึกเป็นบวกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากจะได้รับการดูแลอย่างดีทั้งจากรัฐบาล และองค์กรเอกชนมากมาย
เห็นโอกาสที่จะสร้างฐานะอย่างรวดเร็ว จินตนาการอนาคตใหม่ไว้ สวยงาม มีความคาดหวังสูง ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะมีการสูญเสียมากก็ตาม
Disillusionment Phase (ระยะเผชิญความจริง)
เป็นช่วงระยะเวลายาวนาน หลายเดือนถึงเป็นปี ผู้ประสบภัยพบว่า การฟื้นคืนต่างๆ เป็นไปด้วยความล่าช้า และเกิดความล้มเหลวซ้ำๆ มีความสับสนบ่อยครั้งระหว่างความคาดหวังกับความจริง
ช่วงท้ายของระยะนี้ส่วนใหญ่จะสามารถพบความเข้มแข็งภายในตัวเองที่แท้จริง หลุดจากภาพลวงตา และหันกลับมาแก้ไขปัญหา และสร้างชีวิตของตนเองขึ้นใหม่ได้
Restabilization Phase (ภาวะฟื้นตัว)
มีระยะเวลายาวนานเป็นปี หรือหลายปี ทั้งในส่วนตัวเองและชุมชน ที่จะฟื้นฟูสภาพเข้าสู่หน้าที่การทำงานตามปกติ
ปฏิกิริยาทางจิตใจในเด็ก
ในเด็กมักมีลักษณะเฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับระดับอายุและพัฒนาการ คือ ช่วงปฐมวัย (1-5 ปี) ร้องไห้งอแงมากขึ้น ช่วงวัยเรียน (6-11 ปี) ไม่ไปโรงเรียน และช่วงวัยรุ่น (12-18 ปี) โต้เถียงมากขึ้น
ช่วงปฐมวัย (1-5 ปี)
จะรู้สึกกลัว (Fear) หมดทางช่วย (Helpless) และไม่ปลอดภัย (Insecurity) โดยจะมีอาการสั่นกลัว ร้องไห้ง่าย ตะเบ็งเสียงดัง ฉี่รดที่นอน นอนสะดุ้ง กลัวความมืด
กลัวอยู่คนเดียว กลัวคนแปลกหน้า ติดพ่อแม่แจ ปัญหาในการควบคุมการขับถ่าย ปัญหาการกิน ปัญหาการพูด เช่น ตะกุกตะกัก ไม่พูด สับสน เคลื่อนไหวไร้ทิศทาง เล่นซ้ำๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ช่วงวัยเรียน (6-11 ปี)
จะรู้สึกวิตกกังวล (Anxiety) และกลัว (Fear) โดยจะมีอาการดูดนิ้ว ติดพ่อแม่แจ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย ก้าวร้าว เรียกร้องความสนใจ
กลัว พฤติกรรมถดถอย แยกตัว นอนสะดุ้ง ฝันร้าย กลัวความมืด ไม่ไปโรงเรียน ไม่มีสมาธิ ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อย
ช่วงวัยรุ่น (12-18 ปี)
จะมีอาการผสมผสาน กึ่งกลางระหว่างความเป็นผู้ใหญ่กับเด็ก โดยมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป แยกตัว ซึมเศร้า เฉยเมย เฉื่อยชา สับสน ไม่มีสมาธิ ปัญหาการกิน การนอน
ปัญหาการขับถ่าย ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อย กระสับกระส่าย ก้าวร้าว เกเร ไม่รับผิดชอบ ผลงานต่างๆ แย่ลง โต้เถียง ขัดแย้ง ต่อต้าน พ่อแม่มากขึ้น
ผลของภัยพิบัติต่อจิตใจเด็ก
ระยะสั้น (2-4 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุการณ์)
1) ภาวะช็อกทางจิตใจ เกิดในเด็กที่อยู่เหตุการณ์ที่คุกคามชีวิต ปฏิกิริยาแตกต่างกันตามวัยของเด็ก จะเริ่มเห็นชัดเจนในเด็กวัยเรียน เงียบเฉย เบลอ งง อารมณ์เฉยชา ขาดการตอบสนอง
2) ภาวะตกใจและหวาดกลัว เกิดจากความกลัวเหตุการณ์นั้นหรือ ความกลัวจากการหลง พลัดพรากจากพ่อแม่ ความกังวลว่าจะสูญเสียในการค้นหา ผู้รอดชีวิต อาจมีอาการอารมณ์แปรปรวน
ตกใจกลัว ตกใจง่ายจากเสียงดัง หรือเสียงคลื่น กลัวทะเล ร้องไห้ ไม่สามารถ ควบคุมตัวเอง ขาดสมาธิ ย้ำคิดย้ำทำ คิดวนเวียนเรื่องที่วิตกกังวลซ้ำๆ ถามพ่อแม่ถึงความปลอดภัยซ้ำๆ
3) พฤติกรรมถดถอย เป็นเด็กลงไปกว่าวัย ดูดนิ้ว ฉี่รดที่นอน กังวลต่อการพลัดพรากจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด จะติดพ่อแม่มากขึ้น ไม่ยอมไปโรงเรียน ไม่ยอมอยู่ห่างพ่อแม่ ร้องไห้เวลาพ่อแม่ไปส่งที่โรงเรียน
4) ภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย เกิดจากการที่เด็กสูญเสียพ่อแม่พี่น้อง หรือบ้านเรือนทรัพย์สิน หมดหวัง ท้อแท้ รู้สึกไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ใดๆ ได้ เด็กส่วนใหญ่จะปรับตัวได้
อาการต่างๆ ค่อยๆ หมดไป
ระยะกลาง
1) พีทีเอสดี (PTSD - Post Traumatic Stress Disorder)
2) ภาวะซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) และฆ่าตัวตาย (Suicide)
3) อาการกลัว หรือโรคกลัว (Phobia)
ระยะยาว
อาการต่างๆ อาจเป็นเรื้อรัง มีผลต่อพัฒนาการตามปกติ ทำให้มีปัญหาต่างๆ ขาดความมั่นใจตนเอง ปัญหาการเรียน ปัญหาพฤติกรรม ก้าวร้าว ใช้สารเสพติด และปัญหาบุคลิกภาพ
ดูบทความเพิ่มเติม จิตบำบัดแบบกลุ่ม ในเด็กที่ประสบภัยพิบัติ คลิ๊กที่นี่ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา
· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)
การปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศไทย
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
· การดูแลสุขภาพจิต แรงงานไทยในต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
· Digital Transformation Program
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
· Autism Spectrum Disorder
ณ มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
· Psychotraumatology
ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
· Children with intellectual disabilities
ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น
การประชุม สัมมนาต่างประเทศ
· APEC digital hub for mental health 2019
ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
· APEC digital hub for mental health 2018
ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
· EUNETHYDIS 23rd International ADHD Conference 2013
ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค
HAPPY HOME ACADEMY
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
ศูนย์วิชาการ นำเสนอความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และรับจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
ศูนย์วิชาการออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี พัฒนาการเด็ก การบำบัดรักษาที่จำเป็น รวมทั้งการแพทย์เสริมและทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ