HAPPY HOME CLINIC

ประวัติและผลงาน

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

การปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ

 

Thaweesak-Tsunami Thaweesak-Tsunami Thaweesak-Tsunami
อบรมให้ความรู้บุคลากรสาธารณสุขในหลักสูตรวิทยากร
สำหรับการดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจเด็ก

รูปแบบการตอบสนองต่อภัยพิบัติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
(Bio-Psychological Response Patterns)

Heroic Phase (ระยะวีรบุรุษ)
เกิดขึ้นทันทีหลังภัยพิบัติ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 3-7 วัน จะมี อาการตกใจมาก และชาด้านไปชั่วขณะ ไม่อยากเชื่อว่าเกิดภัยพิบัติขึ้นจริง จากนั้นก็จะช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ ในการช่วยชีวิต ดูแลทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น เกิดการใช้พลังงานอย่างมาก มีการตื่นตัวตลอดเวลา

Honeymoon Phase (ระยะหวานชื่น)
ระยะเวลาในช่วงต่อมา ประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจะมีความรู้สึกเป็นบวกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากจะได้รับการดูแลอย่างดีทั้งจากรัฐบาล และองค์กรเอกชนมากมาย เห็นโอกาสที่จะสร้างฐานะอย่างรวดเร็ว จินตนาการอนาคตใหม่ไว้ สวยงาม มีความคาดหวังสูง ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะมีการสูญเสียมากก็ตาม

Disillusionment Phase (ระยะเผชิญความจริง)
เป็นช่วงระยะเวลายาวนาน หลายเดือนถึงเป็นปี ผู้ประสบภัยพบว่า การฟื้นคืนต่างๆ เป็นไปด้วยความล่าช้า และเกิดความล้มเหลวซ้ำๆ มีความสับสนบ่อยครั้งระหว่างความคาดหวังกับความจริง ช่วงท้ายของระยะนี้ส่วนใหญ่จะสามารถพบความเข้มแข็งภายในตัวเองที่แท้จริง หลุดจากภาพลวงตา และหันกลับมาแก้ไขปัญหา และสร้างชีวิตของตนเองขึ้นใหม่ได้

Restabilization Phase (ภาวะฟื้นตัว)
มีระยะเวลายาวนานเป็นปี หรือหลายปี ทั้งในส่วนตัวเองและชุมชน ที่จะฟื้นฟูสภาพเข้าสู่หน้าที่การทำงานตามปกติ

 


ปฏิกิริยาทางจิตใจในเด็ก

ในเด็กมักมีลักษณะเฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับระดับอายุและพัฒนาการ คือ ช่วงปฐมวัย (1-5 ปี) ร้องไห้งอแงมากขึ้น ช่วงวัยเรียน (6-11 ปี) ไม่ไปโรงเรียน และช่วงวัยรุ่น (12-18 ปี) โต้เถียงมากขึ้น

ช่วงปฐมวัย (1-5 ปี)
จะรู้สึกกลัว (Fear) หมดทางช่วย (Helpless) และไม่ปลอดภัย (Insecurity) โดยจะมีอาการสั่นกลัว ร้องไห้ง่าย ตะเบ็งเสียงดัง ฉี่รดที่นอน นอนสะดุ้ง กลัวความมืด กลัวอยู่คนเดียว กลัวคนแปลกหน้า ติดพ่อแม่แจ ปัญหาในการควบคุมการขับถ่าย ปัญหาการกิน ปัญหาการพูด เช่น ตะกุกตะกัก ไม่พูด สับสน เคลื่อนไหวไร้ทิศทาง เล่นซ้ำๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ช่วงวัยเรียน (6-11 ปี)
จะรู้สึกวิตกกังวล (Anxiety) และกลัว (Fear) โดยจะมีอาการดูดนิ้ว ติดพ่อแม่แจ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย ก้าวร้าว เรียกร้องความสนใจ กลัว พฤติกรรมถดถอย แยกตัว นอนสะดุ้ง ฝันร้าย กลัวความมืด ไม่ไปโรงเรียน ไม่มีสมาธิ ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อย

ช่วงวัยรุ่น (12-18 ปี)
จะมีอาการผสมผสาน กึ่งกลางระหว่างความเป็นผู้ใหญ่กับเด็ก โดยมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป แยกตัว ซึมเศร้า เฉยเมย เฉื่อยชา สับสน ไม่มีสมาธิ ปัญหาการกิน การนอน ปัญหาการขับถ่าย ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อย กระสับกระส่าย ก้าวร้าว เกเร ไม่รับผิดชอบ ผลงานต่างๆ แย่ลง โต้เถียง ขัดแย้ง ต่อต้าน พ่อแม่มากขึ้น

 


ผลของภัยพิบัติต่อจิตใจเด็ก

ระยะสั้น (2-4 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุการณ์)
1) ภาวะช็อกทางจิตใจ เกิดในเด็กที่อยู่เหตุการณ์ที่คุกคามชีวิต ปฏิกิริยาแตกต่างกันตามวัยของเด็ก จะเริ่มเห็นชัดเจนในเด็กวัยเรียน เงียบเฉย เบลอ งง อารมณ์เฉยชา ขาดการตอบสนอง
2) ภาวะตกใจและหวาดกลัว เกิดจากความกลัวเหตุการณ์นั้นหรือ ความกลัวจากการหลง พลัดพรากจากพ่อแม่ ความกังวลว่าจะสูญเสียในการค้นหา ผู้รอดชีวิต อาจมีอาการอารมณ์แปรปรวน ตกใจกลัว ตกใจง่ายจากเสียงดัง หรือเสียงคลื่น กลัวทะเล ร้องไห้ ไม่สามารถ ควบคุมตัวเอง ขาดสมาธิ ย้ำคิดย้ำทำ คิดวนเวียนเรื่องที่วิตกกังวลซ้ำๆ ถามพ่อแม่ถึงความปลอดภัยซ้ำๆ
3) พฤติกรรมถดถอย เป็นเด็กลงไปกว่าวัย ดูดนิ้ว ฉี่รดที่นอน กังวลต่อการพลัดพรากจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด จะติดพ่อแม่มากขึ้น ไม่ยอมไปโรงเรียน ไม่ยอมอยู่ห่างพ่อแม่ ร้องไห้เวลาพ่อแม่ไปส่งที่โรงเรียน
4) ภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย เกิดจากการที่เด็กสูญเสียพ่อแม่พี่น้อง หรือบ้านเรือนทรัพย์สิน หมดหวัง ท้อแท้ รู้สึกไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ใดๆ ได้ เด็กส่วนใหญ่จะปรับตัวได้ อาการต่างๆ ค่อยๆ หมดไป

ระยะกลาง
1) พีทีเอสดี (PTSD - Post Traumatic Stress Disorder)
2) ภาวะซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) และฆ่าตัวตาย (Suicide)
3) อาการกลัว หรือโรคกลัว (Phobia)

ระยะยาว
อาการต่างๆ อาจเป็นเรื้อรัง มีผลต่อพัฒนาการตามปกติ ทำให้มีปัญหาต่างๆ ขาดความมั่นใจตนเอง ปัญหาการเรียน ปัญหาพฤติกรรม ก้าวร้าว ใช้สารเสพติด และปัญหาบุคลิกภาพ

 


สภาพพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
Thaweesak-Tsunami Thaweesak-Tsunami Thaweesak-Tsunami
Tsunami, Thailand 2002

การคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน เพื่อเข้ารับการบำบัดรักษาเบื้องต้น
Thaweesak-Tsunami Thaweesak-Tsunami Thaweesak-Tsunami

Thaweesak-Tsunami

 


รูปวาด เด็กที่ประสบภัยสึนามิ
Thaweesak-Tsunami

 


ดูบทความเพิ่มเติม จิตบำบัดแบบกลุ่ม ในเด็กที่ประสบภัยพิบัติ คลิ๊กที่นี่ »


Thaweesak-Tsunami


นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศไทย
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
· การดูแลสุขภาพจิต แรงงานไทยในต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย

 

· Digital Transformation Program
    ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
· Autism Spectrum Disorder
    ณ มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
· Psychotraumatology
    ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
· Children with intellectual disabilities
    ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น

 

· APEC digital hub for mental health 2019
    ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
· APEC digital hub for mental health 2018
    ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
· EUNETHYDIS 23rd International ADHD Conference 2013
    ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

HAPPY HOME ACADEMY

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

ศูนย์วิชาการ นำเสนอความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และรับจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
ศูนย์วิชาการออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี พัฒนาการเด็ก การบำบัดรักษาที่จำเป็น รวมทั้งการแพทย์เสริมและทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ

Happy Home Academy

 

 

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม