ประวัติและผลงาน
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
Children with Intellectual Disabilities
Japan, Kumamoto
ศึกษาดูงาน บริการสำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา
ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น
วันที่ 1-6 กันยายน 2556
Children with Intellectual Disabilities and Their Needs and Relevant Services, Training Program.
Hottohausu, Minamata
หัวข้อ : Minamata diseases care facility
วิทยากร : Takeko Kato และผู้ป่วยโรคมินามาตะ (โรคที่เกิดจากพิษสารปรอท)
Hottohausu (Hot House) เป็นศูนย์กิจกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคมินามาตะ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองมินามาตะ เป็นที่สำหรับพบปะผู้คน จัดกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มผู้บกพร่องที่ทุพพลภาพจากโรคมินามาตะ และให้ข้อมูลและคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับโรคมินามาตะ ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1998 โดย Cassiopeia Society
ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมินามาตะ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนมาก สัมผัสความรู้สึกต่างๆ ที่ถ่ายทอดจากผู้ป่วยโรคมินามาตะ ซึ่งมีทั้งที่เป็นแต่กำเนิดและที่มีอาการในภายหลัง ความหวัง กำลังใจ และโอกาสต่างๆที่พวกเขาได้รับ รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงระบบการดูแลช่วยเหลือทางสังคมสำหรับผู้ป่วยโรคมินามาตะด้วย
โรคมินามาตะ เป็นโรคที่เกิดจากพิษสารปรอท (Methylmercury) ซึ่งถูกปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่อ่าว Minamata และทะเล Shiranui พบเป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ.1956 จนถึงปัจจุบันครบรอบ 57 ปี ในวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมากทั้งที่เสียชีวิตไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่
โรคนี้ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าสาเหตุเกิดจากพิษสารเคมี เมื่อ 12 ปีหลังจากที่รู้จักโรคนี้และผ่านการประท้วงและการเรียกร้องอย่างยาวนาน อาการของโรค เกิดจากความผิดปกติในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เกร็งผิดปกติ เดินเซ ชาปลายมือปลายเท้า บกพร่องในการมองเห็น การได้ยิน และการพูด อาการอาจแย่ลงจนเกิดชักรุนแรง โคม่า และเสียชีวิตได้ในที่สุด
ผู้ป่วยโรคมินามาตะ 4 คน (Musinaka Koijiro, Nagamoto Kenji, Watanabe Aji และ Nakai Iji) ได้เล่าประสบการณ์ ความรู้สึกต่างๆ ให้ฟัง บางคนมีอาการแต่กำเนิด บางคนเพิ่งมีอาการในภายหลัง บางคนได้รับผลกระทบต่อสติปัญญาและการพูด บางคนเริ่มมีอาการแย่ลงจนเดินไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น เมื่อ 2 ปืที่ผ่านมานี้ พวกเขาในปัจจุบัน อายุประมาณ 50-60 ปี ซึ่งส่วนใหญ่พ่อแม่เสียชีวิตแล้วหรือชรามาก แต่พวกเขายังต้องใช้ชีวิตต่อไป
ศูนย์ Hottohausu เป็นตัวอย่างความก้าวหน้าของการจัดสวัสดิการทางสังคม ที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน ตั้งขึ้นมาในรูปแบบ group home เพื่อเป็นสถานที่พบปะของผู้คนที่เกี่ยวกับโรคมินามาตะ ผู้ป่วยได้มีโอกาสมาพบปะเพื่อนฝูงและผู้คนในท้องถิ่น เป็นสถานที่ฝึกอาชีพ ทำงาน และจัดกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย และยังเป็นสถานที่ให้ผู้คนจากทั่วโลกมาเยี่ยมเยียน พัก และพูดคุย ภายใต้แนวคิดร้านกาแฟ
อนุสรณ์สถาน โรคมินามาตะ (Minamata)
เยี่ยมชมอนุสรณ์สถานสำหรับโรคมินามาตะ ซึ่งสร้างขึ้นที่บริเวณที่เดิมเป็นอ่าวมินามาตะ และได้มีการถมทะเลเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของพิษสารปรอท เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์อย่างรุนแรง จนถึงขั้นพิการและเสียชีวิต เป็นข้อเตือนใจ และสร้างความตะหนักในด้านความปลอดภัย ณ สถานที่นี้มีการจัดงานเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ เป็นประจำทุกปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม
นอกจากนี้ ยังแวะชมประตูน้ำ ซึ่งเป็นจุดปล่อยน้ำจากนิคมอุตสาหกรรม ลงสู่อ่าวมินามาตะ
ประตูน้ำ Hyakken
อ่าวมินามาตะ
Minamata Environment Clean Center, Minamata
หัวข้อ : Waste Sorting
วิทยากร : Fukuda Kazuya
Minamata Environment Clean Center เป็นโรงงานกำจัดขยะ และรีไซเคิลของเสียจากครัวเรือน ในเมืองมินามาตะ เรียนรู้ระบบจัดการของเสียจากครัวเรือน ซึ่งสามารถแบ่งขยะออกเป็น 24 ชนิด ซึ่งมีวิธีจัดการที่แตกต่างกัน ต้นทุนการจัดการก็ต่างกัน ผลที่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้หลากหลาย เช่น นำกลับมาใช้ใหม่ ถมพื้นดินเพื่อทำถนน ขายให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการวัตถุดิบบางอย่าง พบว่าขยะทั้งหมดสามารถนำมารีไซเคิลได้ประมาณ 40%
วิทยากรบรรยาย
ประเภทขยะที่มีการแยก 24 ประเภท
มีการดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยจัด Collecting day ในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง หมุนเวียนกันไป 20กว่าจุด อาทิตย์ละครั้ง มีอาสาสมัครมาช่วยแยกขยะ โรงเรียนก็จัดนักเรียนมาช่วยงานด้วย เมื่อขยะเหล่านี้นำไปรีไซเคิลแล้ว ผลตอบแทนบางส่วนจะกลับมาสู่ชุมชน ในรูปแบบของเงินสนับสนุนชุมชนเพื่อสร้างถนน เป็นต้น
การเยี่ยมชม การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแยกขยะ
Faculty of Education, Kumamoto University
หัวข้อ : Special-needs education system for children with disabilities
วิทยากร : Takahara Akiko, Ph. D. และคณะ
เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และออทิสติก มีเด็กนักเรียนประมาณ 60 คน โดยแบ่งเป็นระดับชั้นประถม (Elementary level) 18 คน ระดับชั้นมัธยมต้น (Junior high school) 18 คน และระดับชั้นมัธยมปลาย (High school) 24 คน
โดยชั้นประถมจะแยกเป็น 3 ห้องๆ ละ 2 ระดับคละกัน ป.1-2, ป.3-4 และ ป.4-5 โดยมีอัตราส่วนครูต่อนักเรียน 1 ต่อ 3 (ยกเว้นชั้น ป.1-2 อัตราส่วน 1:2)
การแบ่งชั้นเรียน จะแบ่งตามระดับอายุเป็นหลัก คือ ช่วงอายุ 6-12 ปี เรียนระดับชั้นประถม ช่วงอายุ 12-15 ปี เรียนระดับชั้นมัธยมต้น และช่วงอายุ 15-18 ปี เรียนระดับชั้นมัธยมปลาย โดยเกณฑ์การรับเด็กเข้ามาเรียน จะประเมินตามระดับความสามารถ โดยไม่ได้อิงตามระดับไอคิว
ระดับชั้นมัธยมปลาย (High School) จะเน้นการฝึกกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพเป็นสำคัญ โดยแบ่งเป็นฐานกิจกรรมต่างๆ เช่น งานไม้ งานทอผ้า และงานเซรามิก เมื่อจบไปแล้วเด็กบางส่วนสามารถไปทำงานในซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าต่างๆ ได้
ฐานกิจกรรมการฝึกอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับ High school
Kumamoto City Child Development Support Center
หัวข้อ : Role of child development support center
วิทยากร : Yoshinobu Ohtani, Director
Kumamoto City Child Development Support Center เป็นศูนย์สำหรับค้นหาปัญหาให้ได้เร็วตั้งแต่เริ่มแรก และสนับสนุนช่วยเหลือ (early detection and support) สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง รวมถึงการกระตุ้นให้มีระบบดูแลช่วยเหลือในรูปแบบเครือข่าย
ประเด็นสำคัญ คือ จำนวนเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือด้านพัฒนาการมีมากขึ้น การค้นหาปัญหาให้ได้เร็วตั้งแต่เริ่มแรก และสนับสนุนช่วยเหลือในเด็กที่มีความบกพร่องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และการสนับสนุนช่วยเหลือจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดตอนในแต่ละช่วงวัย มีแฟ้มสรุปประเมินผลให้ทางโรงเรียน เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านตามช่วงวัย จากวัยอนุบาล สู่ชั้นประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย จนถึงจบการศึกษา เมื่อทำงานก็อาจจำเป็นต้องมีผู้ให้ความช่วยเหลือในการทำงาน
เด็กที่มารับบริการที่ศูนย์ฯ มีปัญหาในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน เด็กเล็กจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหวมาก เมื่อโตขึ้นก็จะพบปัญหาด้านการพูด ปัญหาด้านทักษะสังคม และปัญหาการเรียน ตามลำดับ
พบปัญหาพัฒนาการประมาณร้อยละ 13.6 ในเด็กวัย 3 ปี และพบร้อยละ 10 ในเด็กวัย 5 ปี ซึ่งในเมือง Kumamoto มีเด็กเกิดใหม่ปีละ 7,100 คน
วิทยากรบรรยาย
ห้องกิจกรรมบำบัด
งานมีหลายส่วน ส่วนที่ทำกับผู้ปกครอง คือ การให้คำปรึกษา (counseling) และโปรแกรมการฝึกผู้ปกครอง (parent training) ส่วนอื่นจะเป็นการฝึกเด็กโดยตรง โดยนักวิชาชีพเฉพาะ เช่น กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด แก้ไขการพูด และนักจิตวิทยา นอกจากนี้จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย เช่น การเยี่ยมโรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำ case study ร่วมกัน และมีจัดอบรมผู้ประสานงาน (coordinator) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล
อายุที่เด็กมารับบริการที่ศูนย์ฯ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 3-6 ปี โดยพบโรคออทิสติก (autism spectrum disorder) มากที่สุด รองลงมาเป็น สมาธิสั้น แอลดี ออทิสติกที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กบกพร่องทางสติปัญญา พัฒนาการล่าช้าด้านการพูด ล่าช้าด้านการเคลื่อนไหว ตามลำดับ แต่ก็พบว่าบางส่วนไม่มีการวินิจฉัยโรคหรือปัญหาที่ชัดเจน
Jikei Hospital
หัวข้อ : Baby post (Cradle of stork)
วิทยากร : Yukiko Tajiri, Head of Nurse
Jikei Hospital เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเมือง Kumamoto ได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่อง การรับทิ้งเด็ก (Baby post) คือ ให้แม่ที่ไม่พร้อมจะดูแลลูก สามารถนำเด็กมาทิ้งได้ที่โรงพยาบาลในที่ๆ จัดไว้ เพื่อนำเด็กมาดูแลอย่างเหมาะสม ดีกว่าการปล่อยให้เด็กเสียชีวิตหรือถูกทารุณกรรม เพราะความไม่พร้อมของพ่อแม่
โครงการรับทิ้งเด็ก (Baby post) เริ่มในประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ.2000 ส่วนในประเทศญี่ปุ่น เริ่มได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลญี่ปุ่น และเริ่มดำเนินงาน ในปี ค.ศ.2007 เป็นกลไกการคุ้นครองเด็กรูปแบบหนึ่ง เพื่อช่วยชีวิตเด็กที่พ่อแม่ไม่มีความพร้อมในการดูแล ให้สามารถรอดชีวิตได้ เริ่มโครงการโดย Taiji Hasuda โดยใช้ชื่อว่า Cradle of stork
เด็กจะถูกนำมาส่งในช่องที่จัดไว้ให้ ซึ่งเป็นช่องเจาะที่ผนังโรงพยาบาล โดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนนำมา ในช่องรับเด็กนี้ จะมีจดหมายวางไว้ เขียนสื่อสารไว้ว่า “คุณสามารถกลับมารับเด็กคืนได้เสมอเมื่อคุณต้องการ” เมื่อเด็กถูกวาง จะมีสัญญาณเตือนดังที่ห้องพยาบาล ให้เจ้าหน้าที่มารับเด็กไปที่หอผู้ป่วยทันที เด็กส่วนใหญ่เมื่อรับมา ก็จะประเมินสุขภาพร่างกายโดยละเอียด ดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นระยะหนึ่ง จากนั้นก็จะส่งไปสถานสงเคราะห์เพื่อเข้าสู่กระบวนการดูแลและรับบุตรบุญธรรมต่อไป จากการดำเนินงานมา 6 ปี พบว่ามีผู้นำเด็กมาทิ้งรวม 92 ราย โดยปีที่แล้วมี 9 ราย
ในกรณีที่แม่มาแล้วเปลี่ยนใจ สามารถกดกริ่งเรียกเจ้าหน้าที่ เพื่อขอรับคำปรึกษา (Counseling) ได้ จากกระบวนการเหล่านี้ นอกจากได้ช่วยเหลือคุ้มครองเด็กแล้ว ยังกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองเด็ก และการขอความช่วยเหลือโดยกระบวนการให้คำปรึกษาในกรณีเกิดวิกฤตไม่พร้อมจะดูแลลูก
ในปีที่ดำเนินการ พบว่ามีผู้ขอรับคำปรึกษาเพิ่มขึ้น จาก 26 ราย เป็น 501 ราย แล้วเพิ่มเป็น 690 ราย ในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่รับปรึกษาทางโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการให้คำปรึกษากรณีวิกฤต รุนแรง ถึงร้อยละ 31
วิทยากรบรรยาย
ช่องสำหรับนำเด็กมาทิ้งที่โรงพยาบาล
Sightseeing and Cultural Program
Kumamoto City / Fikuoka City
Kumamoto Castle
Shire & Garden
Kumamoto Hospital
Kumamoto University
Amporn Benjaponpitak
Psychiatrist
Noppawan Sriwongpanich
Pediatricians
Benjamas Prukkanone
Psychiatrist
Thaweesak Sirirutraykha
Child and Adolescent Psychiatrist
ขอขอบคุณทีมผู้ดูแลจาก Kumamoto University
Professor.Dr.Ueda
Associate Professor Wei Changnian
Akane Anai
Masako
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา
· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)
การปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศไทย
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
· การดูแลสุขภาพจิต แรงงานไทยในต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย
การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ
· Digital Transformation Program
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
· Autism Spectrum Disorder
ณ มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
· Psychotraumatology
ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
· Children with intellectual disabilities
ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น
การประชุม สัมมนาต่างประเทศ
· APEC digital hub for mental health 2019
ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
· APEC digital hub for mental health 2018
ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
· EUNETHYDIS 23rd International ADHD Conference 2013
ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค
HAPPY HOME ACADEMY
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
ศูนย์วิชาการ นำเสนอความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และรับจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
ศูนย์วิชาการออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี พัฒนาการเด็ก การบำบัดรักษาที่จำเป็น รวมทั้งการแพทย์เสริมและทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ