HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Autism Spectrum Disorder: Ability Enhancement

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

แนวทางการดูแลในปัจจุบันส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การแก้ไขความบกพร่อง จนทำให้ลืมมองในมุมที่เป็นความสามารถของเด็ก และพบว่าเด็กออทิสติกบางคนมีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านด้วย

ถ้ามองเห็นความสามารถของเด็ก การยอมรับจากสังคมก็เกิดง่ายขึ้น โอกาสที่เขาจะได้เรียนรู้และพัฒนาก็เพิ่มขึ้น ส่วนความผิดปกติที่มีก็ได้รับการแก้ไข บนฐานความคิดที่ว่า “แก้ไขเพื่อดึงความสามารถที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เต็มที่ เต็มตามศักยภาพ ไม่ใช่แก้ไขเพื่อลดความผิดปกติเท่านั้น” และเมื่อได้รับการยอมรับในสังคมแล้ว โอกาสที่จะพัฒนาทักษะด้านสังคมก็เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องเป็นฝ่ายที่ปรับตัวเข้าหาสังคมเพียงด้านเดียว แต่สังคมก็พยายามปรับตัวเข้าหาพวกเขาด้วยเช่นกัน เป็นการพบกันครึ่งทาง

ถ้ามุ่งแก้ไขความบกพร่องเพียงด้านเดียว ก็จะยิ่งทำให้หมดกำลังใจเร็ว เนื่องจากมองเห็นแต่ปัญหา แต่ถ้ามุ่งส่งเสริมความสามารถควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้มีกำลังใจ เนื่องจากมองเห็นการเปลี่ยนแปลง

ความสามารถในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นความสามารถพิเศษเสมอไป แต่คือสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ เช่น ส่งเสียงอะไรได้บ้าง พูดคำว่าอะไรได้บ้าง เล่นอะไรเป็นบ้าง ดูแลช่วยเหลือตัวเองในเรื่องอะไรได้บ้าง แล้วขยายความสามารถที่ทำได้เหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อย ๆ แล้วสอนเพิ่มในเรื่องที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เด็กทำได้ ก็จะยิ่งทำให้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และขยายขอบเขตความสามารถเพิ่มขึ้น

การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะต่าง ๆ ช่วยงานที่พ่อแม่ทำ ก็จะช่วยเสริมให้เด็กมีโอกาสแสดงความสามารถให้เห็นเพิ่มขึ้น

ดร. เทมเพิล แกรนดิน (Temple Grandin) ซึ่งเป็นอัจฉริยะออทิสติก ได้แบ่งรูปแบบการคิดของออทิสติก รวมถึงอัจฉริยะออทิสติกที่มีความหลากหลาย ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่คิดเป็นภาพ กลุ่มที่คิดเป็นรูปแบบ และกลุ่มที่คิดเป็นคำพูด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

กลุ่มที่คิดเป็นภาพ (visual thinkers)
จะคิดเป็นภาพเสมือนจริง เป็นรูปภาพ รูปถ่าย ระบบการคิดจะคล้ายกับเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล Google กำลังค้นหาภาพ ซึ่งจะมีภาพที่หลากหลายแสดงออกมาให้เห็นจากคำค้นที่หา เมื่อคิดถึง “สุนัข” ก็จะมีภาพของสุนัขสายพันธุ์ต่าง ๆ ในอิริยาบถต่าง ๆ อยู่ในหัว รู้ว่าสุนัขแต่ละตัวมีอะไรที่เหมือนกัน และมีความแตกต่างจากแมวอย่างไร จากนั้นก็จะค่อย ๆ สร้างภาพเฉพาะของสุนัขเป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสุนัขขึ้นมา หรือที่เรียกว่า “การคิดแบบอุปนัย” (bottom up thinking) ผู้ที่คิดเป็นภาพ มักเก่งในเรื่องการออกแบบ กราฟฟิกดีไซน์ ถ่ายรูป แต่มักมีปัญหาในด้านคณิตศาสตร์

กลุ่มที่คิดเป็นรูปแบบ (pattern thinkers)
จะคิดเป็นรูปแบบ แบบแผน มีตรรกะหรือการร้อยเรียงในการคิดที่ชัดเจน เช่น คิดเป็นเสียงดนตรี คิดเป็นตัวเลข หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เมื่อคิดถึง “สุนัข” เขาจะเริ่มคิดจากลักษณะทั่วไปที่เหมือนกันของสุนัข แล้วค่อยแตกย่อยเป็นลักษณะเฉพาะของสุนัขแต่ละสายพันธุ์ หรือที่เรียกว่า “การคิดแบบนิรนัย” (top down thinking) ผู้ที่คิดเป็นรูปแบบ มักเก่งในเรื่องคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเล่นหมากรุก และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่มักมีปัญหาในด้านการอ่าน

กลุ่มที่คิดเป็นคำพูด (verbal thinkers)
จะคิดลงลึกในความหมายของคำ และรายละเอียดของภาษา ตีความหมายของคำที่ได้อ่านหรือฟัง โดยไม่มีภาพหรือรูปแบบในหัว ผู้ที่คิดเป็นคำพูด มักเก่งในเรื่องประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ และนิติศาสตร์ แต่มักมีปัญหาในด้านการวาดรูป

เมื่อทราบว่าออทิสติกแต่ละคนมีรูปแบบการคิดแบบไหนแล้ว ก็จะสามารถหาวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสามารถ และความบกพร่องที่มีได้ไม่ยาก และสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างเต็มที่

 

เอกสารอ้างอิง

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2548). ออทิสติกกับความสามารถพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). คู่มือการดูแล เด็กออทิสติก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Boland, R. & Verduin, M. L., eds. (2022). Neurodevelopmental disorders and other childhood disorders. In: Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry 12th ed. (e-book). Wolters Kluwer; pp. 306-725.

Grandin, T. (2010). The world needs all kinds of minds. จาก https://www.ted.com/talks/temple_grandin

Treffert, D. A. (2014). Savant syndrome: realities, myths and misconceptions. J Autism Dev Disord. 44: 564–571.

Volkmar, F. R., Van Schalkwyk, G. I. & Van der Wyk, B. (2018). Autism Spectrum Disorder. In: Lewis’s child and adolescent psychiatry: a comprehensive textbook, 5th ed. Martin, A., Volkmar, F. R. & Bloch, M., eds. Philadelphia: Wolters Kluwer; pp. 1164-1195.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก. จาก https://www.happyhomeclinic.com/au22-autism-care-ability.html

(บทความต้นฉบับ: พฤศจิกายน 2549)

 

ดาวน์โหลดบทความ »

 

 

แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ   การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก   การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก   การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก   การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก   กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก   แก้ไขการพูด ในออทิสติก   การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก   การรักษาด้วยยา ในออทิสติก  

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Attention Deficit/ Hyperactivity Disorder

Specific Learning Disorder

Intellectual Disability

Child Development

Selective Mutism

Tourette's Disorder

Trichotillomania

ADHD-faq

alternative therapy

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ

 

อัจฉริยะกับออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
    · ออทิสติก 10 คำถาม
    · ออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม
    · ระดับความรุนแรงของออทิสติก
    · ระดับไอคิวของออทิสติก
    · ประเภทของออทิสติก
    · ออทิสติก พบได้มากแค่ไหน
    · ออทิสติก เกิดจากอะไร
    · ออทิสติก ป้องกันได้ไหม
    · ออทิสติก โตแล้วเป็นอย่างไร
    · เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
    · พฤติกรรมแปลกๆของเด็กออทิสติก
    · การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
    · เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
    · เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
    · พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
    · แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
    · ออทิสติก กับปัญหาการนอน
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
    · การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· อัจฉริยะกับออทิสติก
    · ซาวองต์ ซินโดรม
    · ออทิสติก ซาวองต์
    · ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
    · รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
    · แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
    · รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
    · การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
    · Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
    · Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
    · Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
    · Attorney Woo ทนายอัจฉริยะ ออทิสติก
    · อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
    · อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
    · อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
    · อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y